กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาปี2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อแดง
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,713.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,100.454place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1242 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศ มีแนวโน้มใน การระบาดถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น จากการระบาดของโรค ปีเว้นสองปี หรือ ปีเว้นปี ปัจจุบันมีการระบาด ของโรคเป็นประจำทุกปี โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาล โรคไช้เสือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละบิมี ตายเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำ ปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้อง ร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค์ใช้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. อปท. ผู้นำชุมชน ครู และนักเรียน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยไต้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุก โดยเน้นให้ อสม. ร่วมกับผู้นำชุมชนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากผู้นำชุมชนไม่ให้ ความสำคัญและไม่เป็นตัวอย่างในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย สม.ขาดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีการ กำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นช่วงๆขาดความสม่ำเสมอ ประชาชนขาดความร่วมมือในการควบคุมลูกน้ำยุงลายใน บ้านเรือนตนเอง ไม่เห็นความสำคัญของการกำจัดถูกน้ำยุงลาย เพราะถือเป็นบทบาทของ อสม.และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข จากข้อมูล ปี ๒๕๖๖ ประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวน ๓๔,๓๒๓ ราย (อัตราป่วย ๖๖.๙๗ ต่อแสน ประชากร) จำนวนผู้เสียชีวิต ๒๙' ราย (อัตราปวยตาย ร้อยละ 0.0๗) ผู้ป่วยเขตสุขภาพที่ ๑๒ จำนวนผู้ป่วย ๓๔๕๒ ราย (อัตราป่วย ๖๔.๒๒ ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต ๔ ราย ส่วนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลาข้อมู ลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา จะเห็นว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. ๒๕๖๖ (วันที่ ๑ มกราคม -๓๐ กันยายน ๒๕๖๖) จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค ๕0๖ กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ พบผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออกสะสม ๒,๔๙๕ ราย อัตราป่วย ๔๔.๘๙ ต่อแสนประซากร เสียชีวิต จำนวน ๓ ราย จำนวนผู้ป่วยสะสม มากกว่าปีที่ผ่านมาและสูงกว่าคำามัธยฐานย้อนหลัง 4 ปี จากช้อมูลผู้ป่วยโรคไช้เสือดออกอำเภอสพิงพระจำนวน ๑๑6 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อแดง ย้อนหลัง ๕ 'ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๒- พ.ศ. 6๕๖๖ พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น ๒๖ ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดย แยกผู้ป่วยเป็นรายปีดังนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ㆍ.๐๐๘ ต่อประขากร แสนคน ปีท.ศ.๒๕๖๓ พบผู้ป่วย 6 ราย ปีพ.ศ.๒๕๖๔ พบผู้ป่วย 0 ราย ปีพ.ศ.๒๕๖๕ พบผู้ป่วย 0 ราย และปีพ.ศ. ๒๕๖๖ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลบ่อแดง จำนวน ๑๔ ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง ๑๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๙๔ เพศชาย ๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๐- อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ ๕ -๓๕ ปี รองลงมา ได้แก่ อายุ ๓๖ - ๖๐ ปี และ อายุ ㆍ - ๕ ปี ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามประชากรยังมีการเดินทางไปต่างพื้นที่ ตลอดเวลา ประกอบกับสภาวะภูมิอากาสสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เอื้อต่อการเกิดโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรค อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ส่งผลให้ตำบลบ่อแดงมีแนวโน้มการระบาดของโรคเพิ่มขึ้น ดังนั้นเป็นการยากที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากจะ อาศัยเพียงแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงอย่างเดียว เนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีอยู่ทั่วไปทั้งในชุมชนและใน โรงเรียน ดังนั้นการที่จะป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลเต็มที่ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อแดง ได้เห็นถึงความสำคัญและตระหนัก ถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการ มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้อัตราการป่วยด้วยโรค ไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ่อแดง ลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDIAN ย้อนหลัง ๕ ปี ๒.เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของ การรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่สาธารณะและในชุมชน ๓.เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำ ยุงลายในสถานที่สาธารณะและใน ชุมชน ๔.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชน ทั่วไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและ ควบคุมไข้เลือดออก

๑.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ ๓๐ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี ๒.สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทุกหมู่บ้านและไมมีผู้ป่วยเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคไข้เลือดออกรายแรกก่อนหน้านี้แล้ว ๒๘ วัน ๓.ค่า HI CI .ในชุมชน วัดโรงเรียนและสถานที่ราชการไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ๔.หน่วยงานในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน ศพด. อบต. และประชาชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทั้งในชุมชนและที่สาธารณะ ๔ ครั้ง/เดือน ๒.พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ก่อนเปิดเทอม)และในชุมชน(กรณีมีผู้ป่วย) ๓.ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ภาคีเครือข่าย อบต. อสม. วัด โรงเรียน ศพด. และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในสถานที่สารารณะและในชุมชนครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ ทำให้อัตราความชุกขุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 14:15 น.