กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Save Your Life รู้ไว รู้มาก พิชิต NCDs ชุมชนเจริญทรัพย์ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 39,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดีลาห์ เจ๊ะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนเจริญทรัพย์ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ได้แก่ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง และโรคอ้วนลงพุง ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน สังคมไทยมีความซับซ้อนในการดำรงชีวิต ด้วยข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่หลากหลาย และระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การพัฒนาสมรรถนะให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างสุขภาพด้วยหลัก ๓อ. ๒ส. จากข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2564 - 2566 ร้อยละ 90.07 ,92.07และ 92.95พบว่า ผลการคัดกรองประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน พบเสี่ยงสูงประชากรสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจยืนยันรายใหม่ จำนวน 31 ราย ร้อยละ 35.48 ส่วนผลการคัดกรองประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน พบเสี่ยงสูงประชากรสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจยืนยันรายใหม่ จำนวน 45 ราย ร้อยละ 20.00 มารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์ใกล้ใจ 1 จำนวน 100 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง) โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค ๓อ. ๒ส. เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มดังกล่าวมีสุขภาวะที่ดีจึงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังทุกกลุ่ม การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษา/ดูแลด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายเวชกรรมสังคม งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนเจริญสุข จึงดำเนินการจัดทำโครงการ “Save Your Life รู้ไว รู้มาก พิชิต NCDs ชุมชนเจริญทรัพย์ ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน โดยกลวิถีสาธารณสุขมูลฐาน ตามมาตรฐานสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และสังเกตทักษะในการปฏิบัติงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตามมาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80

40.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้ดูแล/ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และหัวใจได้

ผู้ดูแล/ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 80

50.00 80.00
5 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลัก 3อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส (สุรา สารเสพติด)

กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ร้อยละ 50

20.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 สถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน 0 20,900.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดทำเวทีประชาคม 0 1,500.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 Save Your Life รู้ไว รู้มาก พิชิต NCDs ชุมชนเจริญทรัพย์ 0 15,900.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้ 0 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพมีทักษะในการปฏิบัติงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตามมาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต
  3. ผู้ดูแล/ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
  4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวันที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ
  5. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลัก 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 16:16 น.