โครงการเด็กบางปูโภชนาการดีพัฒนาการสมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กบางปูโภชนาการดีพัฒนาการสมวัย |
รหัสโครงการ | 60L70080106 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบลบางปู |
วันที่อนุมัติ | 9 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 12 ธันวาคม 2559 - 29 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 36,025.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮัสนาใบกาเด็ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอาแวลือโมะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.868,101.335place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัย ต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงการให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-6 ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตตำบลบางปูในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์51 คน จากเด็กทั้งหมด888คน คิดเป็นร้อยละ 5.74 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์80 คน คิดเป็นร้อยละ 8.29 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการจัดการด้านอาหารแก่ผู้ปกครอง
|
||
2 | 1.2 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กอายุ0 – 5 ปี โดยให้มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 70
|
||
3 | 1.3เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการและเฝ้าระวัง ค้นหา เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า กลุ่มเป้าหมาย
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กิจกรรมที่๑. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการ
1.1 ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชนประธาน อสม. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปีที่ขาดสารอาหารทุกหมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู ให้รับทราบเกี่ยวกับโครงการ เพื่อขอความร่วมมือ
1.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครอง เพื่อค้นหาสาเหตุของการขาดสารอาหารในเด็ก อายุ 0-5 ปี พร้อมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องภาวะขาดสารอาหารและการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก
กิจกรรมที่2. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพเด็ก
2.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุกเดือน โดยเน้นให้ผู้ปกครองได้ดำเนินการเองโดยมีเจ้าหน้าที่และอสม.คอยแนะนำ เพื่อเป็นการประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก
2.2 เจ้าหน้าที่ สอนการใช้กราฟเพื่อแปรผลน้ำหนัก- ส่วนสูง เพื่อให้อาสาสมัครเคลื่อนที่สามารถประเมินภาวะโภชนาการของเด็กเพื่อไปสอนผู้ปกครองต่อไป
กิจกรรมที่3. อธิบายความสำคัญและการติดตามเด็กมาตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุ
3.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อธิบายถึงความสำคัญของการตรวจพัฒนาการและสอนวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กให้กับอาสาสมัคร และวิธีการกระตุ้นพัฒนาการตามวัย เพื่อให้อาสาสมัครติดตามเด็กมาตรวจพัฒนาการ
- ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กและสามารถดูแลสุขภาพของเด็กได้ถูกต้องตามวัย
- ทราบถึงสภาพปัญหาและแนวโน้มของการเกิดภาวะทุพลโภชนาการในตำบลบางปู
- เด็กตำบลบางปูมีโภชนาการและพัฒนาการปกติเป็นไปตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2559 08:34 น.