กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนควนขนุนวัยใส ผู้สูงวัยเบิกบาน
รหัสโครงการ 2567-L3311-3-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 54,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนุกูล ชะหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ผู้สูงอายุหรือคนชรา ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ข้อมูลกรมการปกครองซึ่งได้จัดทำการสำรวจประชากรผู้สูงอายุ ผลจากการสำรวจพบว่า ปี พ.ศ.2548 ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ประเทศไทยกลายเป็น “สังคมสูงอายุ (Aged Society)” ในปี พ.ศ.2566 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 กลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 12,899,421 คน คิดเป็นร้อยละ 19.53 ของประชากรทั้งหมด (ชายร้อยละ 44.27 หญิงร้อยละ 55.73 ) และผลการสำรวจในปี 2576 เพิ่มขี้นร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด กลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society)
      ปัจจุบันตำบลควนขนุนมีประชากรทั้งหมด 8,526 คนเป็นผู้สูงอายุจำนวน 1,842 คนคิดเป็นร้อยละ 21.60 ของประชากรของตำบลควนขนุนทั้งหมด ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัว ทำให้อัตราเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุข และเทคโนโลยี ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญมาก ต้องมีการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเรื่องการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดการจัดสรรสวัสดิการ ที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งการบริการทางการแพทย์ แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาผู้สูงอายุ ไม่ใช่การหาทางช่วยเหลือผู้สูงอายุเพราะนั่นเป็นการมองอนาคตว่าจะเต็มไปด้วยภาระที่ทุกคนต้องมาช่วยกันรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่นับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังคำกล่าวของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) กล่าวว่า “เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำได้ นอกเหนือจากการมีสุขภาพที่ดี ยังต้องมีความรู้ความสามารถ และโอกาสในการทำงานต่างๆ รวมทั้งมีเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งหากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชากรในวัยอื่นๆ ดังนั้น เราจึงต้องมาช่วยกันสร้างสังคมไทยให้มองผู้สูงอายุเป็นผู้สร้าง มากกว่าการมองผู้สูงอายุด้วยความสงสาร หรือแย่ที่สุดคือมองผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์” ซึ่งปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทยประกอบด้วยปัญหาหลักๆ 3 ประการคือ       1. ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นสุขภาพจะเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆ เกิดขึ้น ตามมา ดังนั้น ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึงหมั่นพาไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ทำให้สภาวะแวดล้อมในครอบครัวเป็นสังคมของคนทุกวัยได้อย่างแท้จริง 2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และไม่รู้จักการออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดความขัดสน ยากจน เพราะไม่ได้มีการออมเงินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรปลูกฝังนิสัยให้มีการรักการออมตั้งวัยหนุ่ม เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุรวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุที่ยากไร้ให้มีความมั่นคงทางรายได้     3. ปัญหาทางสังคม แม้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยจะได้รับการเคารพนับถือจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่สามารถพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุคสมัยได้ ทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับบุคคลในวัยอื่นๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐก็จะต้องเข้ามาส่งเสริมดูแล เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น       จากสภาพปัญหาของผู้สูงอายุโดยภาพรวม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลควนขนุน จึงวางแผนการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตัวเองและสังคม เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมพัฒนาและแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ สามารถทำได้หลายด้าน หลายกิจกรรม หลายรูปแบบ และจำเป็นต้องอาศัยหลายภาคส่วนร่วมดำเนินการ การพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องบูรณาการกิจกรรมและผู้มีส่วนร่วมเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้การดำเนินงานในชื่อ “โครงการโรงเรียน ควนขนุนวัยใส ผู้สูงวัยเบิกบาน ประจำปี 2567”ซึ่งดำเนินการไปแล้วเมื่อปี 2560 โดยประสบผลสำเร็จพอสมควรกับกิจกรรมดังกล่าว  ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตการพัฒนาทักษะ และการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น การดูแลสุขภาพกายใจ โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันเพื่อเกิดพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าสู่สังคม ทำกิจกรรมร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายและใจดีสังเกตจากพฤติกรรมและทางกายภาพ

3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำประโยชน์ต่อชุมชนช่วยเหลือสังคม

4 เพื่อเสริมสร้าง คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาต่อกันและถ่ายทอดสู่ลูกหลาน

5 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาและอนุรักษ์ไว้แก่คนรุ่นหลัง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมให้ความรู้(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
2 กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
รวม 0.00
1 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุนำความรู้มาพัฒนาตนเองและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  3. ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม
  4. คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
  5. ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 11:02 น.