กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสำรวจลูกน้ำยุงลายแบบไขว้หมู่บ้าน ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 67 - L1519 - 2 - 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังมะปรางเหนือ
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพีรดา ปานแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,99.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) หมายถึง โรคที่มีอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีจุดเลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ทำให้มีความผิดปกติขิงผนังหลอดเลือดฝอย น้ำเลือดซึมออกนอกหลอดเลือดทำให้ปริมาณน้ำเลือดลดลง เกิดความไม่สมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และอาจเกิดภาวะช็อก (Hypovolemic Shock) ร่วมกับอาการที่เกิดจากเชื้อเดงกีจะทำลายเกล็ดเลือด เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ง่าย โดยจะพบว่าผู้ป่วยจะมีจุดเลือดตามแขนขาและอาจมีอาการอาเจียนหรืออุจจาระออกเป็นเลือด (จรวย สุวรรณบำรุง, 2560) จากสถานการณ์โดยรวมของโรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ. 2566 พบว่าเป็นปีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 จำนวน
สะสมรวม 106,548 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 161.02 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 102 ราย คิดเป็น อัตราตาย 0.15 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกเขต 12 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 10,631 ราย อัตราป่วย 212.99 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 16 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.32
      จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 737 ราย อัตราป่วย 115.48 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย อัตราป่วยตาย 0.31 ต่อแสนประชากร และจากการรายงานอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอปี 2566 ในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 อันดับแรกพบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อำเภอวังวิเศษ อัตราป่วย 294.19 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ อำเภอสิเกา อัตราป่วย 189.27 ต่อแสนประชากร และอำเภอหาดสำราญ อัตราป่วย 171.89 ต่อแสนประชากร สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 128 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 294.19 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง, 2566) ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2567 จากปัญหาดังกล่าวกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลวังวิเศษได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังมะปรางเหนือ เป็นแกนนำและชุมชนสามารถขับเคลื่อนการจัดการแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ และแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการสำรวจลูกน้ำยุงลายแบบไขว้หมู่บ้าน ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง ค่า HI,CI น้อยกว่าร้อยละ 10

10.00
2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

ประชาชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 13:02 น.