กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
อบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกขยะครัวเรือน จัดการขยะอย่างถูกวิธี 1 ก.พ. 2566 6 ก.พ. 2566

 

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับ อสม. และกรรมการกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 2 รุ่น  ดังนี้
  รุ่นที่ 1 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566  มีผู้เข้าร่วม จำนวน 97 คน
  รุ่นที่ 2 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 103 คน
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1) วิทยากรบรรยายให้ความรู้ การจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างถูกวิธี 2) สาธิตการจัดทำภาชนะใส่ขยะแต่ละประเภทจากวัสดุเหลือใช้ หรือที่หาได้จากครัวเรือน 3) สาธิตการทำถังขยะเปียก ถังรักษ์โลก สำหรับทิ้งขยะเแยีกประจำครัวเรือน 4) วางแผนการจัดการขยะของระดับชุมชน

 

  1. ได้ตัวแทนครอบครัวที่จะเป็นครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน มีการจัดทำภาชนะคัดแยกขยะในครัวเรือนให้เห็นอย่างชัดเจน
  2. ครัวเรือนต้นแบบการจัดทำถังขยะเปียกประจำบ้าน "ถังรักษ์โลก"  จำนวน 227 ครัวเรือน
  3. เทศบาลได้มีแผนการสนับสนุนการจัดการขยะในหมู่บ้าน

 

สร้างถัง ขุดที่ ที่ทิ้งขยะเปียก 1 ก.พ. 2566 10 ก.พ. 2566

 

ครัวเรือนต้นแบบที่เข้ารับการอบรม จำนวน 201 ครัวเรือน ดำเนินการจัดทำถังขยะเปียกประจำบ้าน
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. เทศบาลสนับสนุน ถังขยะเปียกให้กับครัวเรือนต้นแบบ และให้ครัวเรือนจัดหาถังขยะเปียกจากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในครัวเรือน 2. ครัวเรือนต้นแบบขุดฝังถังขยะเปียกในบริเวณบ้าน ตามรูปแบบการทำถังขยะเปียกประจำบ้าน 3. เทศบาลสนับสนุนป้ายแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะประจำบ้าน 4. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

 

  1. เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 201 ครัวเรือน ที่ดำเนินการจัดทำถังขยะเปียกประจำบ้าน และครัวเรือนที่เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน
  2. เกิดกลุ่มครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะชมุชน ที่จะขยายผลการขับเคลื่อนการจัดการขยะทั้งชุมชน
  3. ครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนให้ความสนใจและร่วมทำถังขยะเปียกประจำบ้าน มีการจัดหาจัดทำถังขยะเปียกจากวัสดุเหลือในครัวเรือนมีทำเป็นถังขยะเปียก

 

ติดตามประเมินผลแหล่งเรียนรู้ถังขยะเปียกประจำบ้าน 1 เม.ย. 2566 20 เม.ย. 2566

 

เทศบาลตำบลโนนเจริญประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะในครัวเรือน จากนั้นคณะกรรมการฯ ร่วมกันออกแบบแบบฟอร์มประเมินผล การสรุปบทเรียนถอดองค์ความรู้ และวางแผนการทำการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผล 2. จัดทำแผนการติดตามตรวจประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ
3. ดำเนินการติดตามประเมินผลครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะครัวเรือน ถังขยะเปียกประจำบ้าน 4. สรุปผลและมอบรางวัล 5 ครัวเรือน/หมู่บ้าน

 

  1. ครัวเรือนต้นแบบดีเด่นที่มีการจัดการขยะเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ เป็นนวัตกรรม รวม 55 ครัวเรือน
  2. เอกสารรายงานความรู้การจัดการขยะ
  3. แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะชุมชน