กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L1870-01-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลห้วยยอด
วันที่อนุมัติ 7 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรียภัทร์ พลเดช
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภารัตน์ ภักดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.776,99.632place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (80,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือ ชื่อภาษาไทยเรียกว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นั้นเป็นชื่อเรียก กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหนะ) หรือสาร
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือ ชื่อภาษาไทยเรียกว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นั้นเป็นชื่อเรียก กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหนะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ หากแต่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเหล้า บุหรี ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวาน มัน เค็มจัด และมีความเครียด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อย ๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุม องค์การอนามัยโลก (WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63%ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้น คือ กว่า 80% เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้าน คนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรคNCDs และที่สำคัญยังถึอเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรคNCDsมากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งสถิติการ เสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ย ของทั้งโลกและมีแน้วโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งโรคในกลุ่ม โรคNCDs ที่มีอัตราผู้่ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่ 1. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) 2.โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases) 3.โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) 4.โรคมะเร็ง (Cancer) 5.โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) 6.โรคอ้วนลงพุง (Obesity) แม้ค่าสถิติการป่วยและเสียชีวิตจากกลุ่มโรคNCDsจะสูงมาก แต่แท้จริงแล้ว กลุ่มโรคNCDsนั้นสามารถป้องกันได้เพราะ สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเองเรานั้นเอง ซึ่งหากเราสามารถลด หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นการลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรคNCDs ได้มากถึง 80% เลยทีเดียว ลดโอกาสในการเป็นมะเร็ง 40% โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 ได้ถึง 80% ดังนั้น กองสาธารณสุขและสื่งแวดล้อม เทศบาลตำบลห้วยยอด จึงเล็งเห็นว่าการกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะเป็นวิธีลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่ต้นเหตุ มีความยั่งยืน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาวัยแรงงานจึงได้จัดทำโครงการฯ เพื่อการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 15-34 ปี ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ

1.ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ

2 2.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้การคัดกรองเสี่ยงด้านสุขภาพ

2.ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ

3 3.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับพฤติกรรมด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงรายใหม่

4 4.เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และเข้ารับการรักษาตามสิทธิ

4.กลุ่มสงสัยผู้ป่วยรายใหม่ไปรับการตรวจวินิจฉัยยืนยันและเข้ารับการรักษาตามระบบต่อไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.เทศบาลตำบลห้วยยอด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้รับการอบรมและฝึกปฏิบัติตามโครงการฯ มีความรู้มีทักษะ ในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรวมทั้งภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแนะนำผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 2.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลทั้ง 8 ชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพเบื้องต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2566 22:12 น.