กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทูบีนัมเบอร์วัน
รหัสโครงการ 67-L3367-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา อินปาน
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 152 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็ก 5-14 ปี ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
152.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติด และได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบแผนการสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างระบบป้องกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ซึ่งเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมายของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหาสร้างตัวตนสร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน เพื่อจะได้สามารถร่วมมือกันปกป้องเด็กและเยาวชน โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ดจึงเห็นความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการทูบีนัมเบอร์วัน เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักในโทษและภัยของยาเสพติด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ให้นักเรียนในโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษา ปีที่ 3

1.นักเรียนในโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษา ปีที่ 3 ร้อยละ 90 มีความรู้ในเรื่องโทษและภัยของยาเสพติด 2.นักเรียนในโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษา ปีที่ 3 ร้อยละ 100 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

152.00 152.00
2 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด

นักเรียนในโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษา ปีที่ 3 ร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม

152.00 152.00
3 เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและเครือข่ายการป้องกันและช่วยเหลือแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด

โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ดจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต และเครือข่ายการป้องกันและช่วยเหลือแก่นักเรียน อย่างน้อย 2 กิจกรรม

152.00 152.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 พัฒนาทักษะชีวิตและเครือข่ายการป้องกันและช่วยเหลือแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด 0 17,400.00 -
16 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด 0 2,760.00 -
5 มิ.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด 0 9,840.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 13:30 น.