กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง,เบาหวาน ในคลินิก DPAC/Wellness Center ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ปี2567
รหัสโครงการ 2567-L7572-01-016
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์โรงพยาบาลพัทลุง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศศิธร เอียดคล้าย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.619867,100.08075place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2567 29 ก.พ. 2567 3,100.00
2 1 มี.ค. 2567 31 พ.ค. 2567 3,300.00
3 1 มิ.ย. 2567 31 ก.ค. 2567 0.00
4 1 ส.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 3,300.00
รวมงบประมาณ 9,700.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (9,700.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานจากการคัดกรอง (ปี 2566 จำนวน 80 คน)
3.36
2 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง (ปี 2566 จำนวน 224 คน)
12.63
3 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากการคัดกรอง (ปี 2566 จำนวน 15 คน)
2.66
4 ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากการคัดกรอง (ปี2566 จำนวน 16 คน)
2.83

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ปี 2562 พบปัญหา 5 อันดับโรคที่สำคัญ คือ โรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง หัวใจหลอดเลือด,โรคไข้เลือดออก,มะเร็ง (เต้านม,ปากมดลูก,ลำไส้) ,วัณโรค,อนามัยแม่และเด็ก กลุ่มโรคเหล่านี้ควรมีการจัดการอย่างจริงจังตั้งแต่เบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่องนั่นก็คือ โรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคนี้มักพบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคคือการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้สัดส่วน ชอบรับประทานอาหาร รสหวาน มัน เค็ม และขาดการออกกำลังกาย รวมถึงความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปี 2566 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง 224 ราย กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน 80 ราย การนำกลุ่มสงสัยป่วยเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในคลินิก DPAC / Wellness Center ดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในรูปแบบของคลินิก DPAC/ Wellness Center ในสถานบริการสาธารณสุขนั้น โรงพยาบาลพัทลุงและศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 ศูนย์ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยกลุ่มสงสัยป่วยบางคน ที่ไม่สามารถเข้าร่วมในกระบวนการของคลินิกได้ ไม่สามารถเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการติดตามซ้ำของคลินิก จึงทำให้ความเสี่ยงของโรคไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง กลุ่มสงสัยป่วยกลุ่มนี้จึงยังคงมีความเสี่ยงต่อเนื่อง บางรายกลายเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลพัทลุงและเทศบาลเมืองพัทลุง จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในคลินิกDPAC / Wellness Center ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ปี 2567 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค โดยการให้บริการกลุ่มสงสัยป่วยในชุมชน เพื่อให้ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้ รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายในชุมชนป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

กลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ และมีพฤติกรรม ด้านอาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย ดีขึ้น ร้อยละ70

0.00 50.00
2 กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อย่างน้อยร้อยละ 25

0.00 20.00
3 กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมีค่าความดันโลหิตลดลง

กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมีค่าความดันโลหิตลดลง อย่างน้อยร้อยละ 25

0.00 55.00
4 กลุ่มสงสัยป่วย เป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย และรับการรักษา ตามเกณฑ์

กลุ่มเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย และรับการรักษา ตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 อบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 9,700.00 4 9,700.00
1 - 29 ก.พ. 67 ประชุมคณะทำงานร่วมกันออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน 50 3,100.00 3,100.00
1 มี.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวานจากการคัดกรอง 50 3,300.00 3,300.00
1 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 การติดตามผล - ติดตามผลหลังการอบรม 1-2 เดือน (ครั้งที่ 1) 50 0.00 0.00
1 - 31 ส.ค. 67 การติดตามผล ติดตามผลหลังการอบรม 3 เดือน (ครั้งที่ 2) 50 3,300.00 3,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น
2.กลุ่มเป้าหมายมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ไม่เป็นโรค 3.กลุ่มเป้าหมายมีค่าความดันโลหิตลดลง ไม่เป็นโรค 4.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับดี-ดีมาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 16:28 น.