กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 ”




หัวหน้าโครงการ
นายสมนึก ทองรอด




ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ L3308-67-02-06 เลขที่ข้อตกลง 6/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ L3308-67-02-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 18,400.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย พร้อมทั้งสำรวจค่า HI,CI โดยอสม.ตรวจทุกเดือน
  2. พ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคเรียนและกรณีพบผู้ป่วย
  3. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก
  4. ประเมินผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,890
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ลดลง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย พร้อมทั้งสำรวจค่า HI,CI โดยอสม.ตรวจทุกเดือน

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จนท.ชี้แจง การดำเนินงานแก่อสม.
2.อสม.ลงสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ในเขตรับผิดชอบของตนเอง ทุกวันศุกร์
3.อสม.รายงานผลการสำรวจผ่านแอปสมาร์ทอสม.ทุกสัปดาห์
4.อสม.รายงานผลด้วยแบบบันทึกการสำรวจลูกน้ำส่งประธานหมู่บ้านทุกวันศุกร์
5.อสม.รายงานผลตอนลงสำรวจด้วยภาพถ่ายลงในไลน์กลุ่มหมู่บ้านทุกวันศุกร์/เสาร์/อาทิตย์ ทุกสัปดาห์
6.จนท.รายงานผลการสำรวจ ค่า HI CI แก่อสม.ในวันประชุมอสม.ทุกเดือน
7.อสม.รายงานผลการสำรวจ ค่า HI CI แก่ชาวบ้านในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.อสม.ลงสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์และมีการรายงานผลการสำรวจผ่านแอปสมาร์ทอสม. รายงานด้วยแบบบันทึกการสำรวจส่งรพ.สต.ทุกสัปดาห์และมีการรายงานภาพถ่ายตอนลงปฏิบัติงานผ่านทางไลน์กลุ่มหมู่บ้าน
2.ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายแยกเป็นรายเดือน สรุปผลงานรวมทั้ง 6 หมู่บ้าน ดังนี้
เดือน มค.67 ค่า HI= 9.6 , CI= 5.1
    กพ.67 ค่า HI= 9.7 , CI= 5.8
    มีค.67 ค่า HI= 9.5 , CI= 6.5
    เมย.67 ค่า HI= 8.1 , CI= 5.2
    พค.67 ค่า HI= 11.0 , CI= 5.8
    มิย.67 ค่า HI= 12.5 , CI= 6.2
    กค.67 ค่า HI= 11.5 , CI= 6.8
    สค.67 ค่า HI= 13.6 , CI= 6.6
  ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนด ค่า HI ต้องไม่เกินร้อยละ 10 , ค่า CI ต้องไม่เกินร้อยละ 5  จะพบว่าในเดือนที่ค่า HI และ ค่า CI เกินเกณฑ์จะเป็นเดือนที่มีฝนตกชุก จึงทำให้พบลูกน้ำเยอะ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
3.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการคืนข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในเวทีประชุมประจำเดือนอสม.และในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เผื่อชาวบ้านจะได้ทราบผลการสำรวจและให้ความร่วมมือในการทำลายลูกน้ำยุงลายในบ้านของตนเอง

 

100 0

2. พ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคเรียนและกรณีพบผู้ป่วย

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.พ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ก่อนเปิดภาคเรียน จำนวน 2 ครั้ง ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2
2.พ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่กรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยพ่นเคสละ 3 ครั้ง ในวันที่ 0,3,7 โดยเมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งรายงานเคสผู้ป่วยในไลน์กลุ่มหมู่บ้าน คนพ่นยุงจะต้องลงพ่นยุงให้ทันเวลาภายใน 24 ชม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เพื่อกำจัดยุงตัวแก่ในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียนไปนานจึงอาจจะเป็นแหล่งรังโรคของไข้เลือดออกได้
2.การพ่นยุงก่อนเปิดภาคเรียนจะพ่นก่อนเปิดภาคเรียน 1 สัปดาห์ โดยจะพ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
3.จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปี 2567 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 25 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในพื้นที่ ดังนี้
- หมู่ที่ 4 บ้านท่ายาง จำนวน 3 ราย
- หมู่ที่ 5 บ้านท่ายาง จำนวน 12 ราย
- หมู่ที่ 6 บ้านนามะพร้าว จำนวน 1 ราย
- หมู่ที่ 7 บ้านควนขี้แรด จำนวน 1 ราย
- หมู่ที่ 8 บ้านหูเล่ จำนวน 1 ราย
- หมู่ที่ 9 บ้านสะพานแต้ว จำนวน 7 ราย
เมื่อคิดอัตราป่วยได้เท่ากับ 502.00 ต่อแสนประชาชน เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ต้องไม่เกิน 80 ต่อแสนประชาชน แต่เนื่องจากปีนี้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกพื้นที่ จึงทำให้อัตราป่วยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำนหด
4.ในการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่เกิดผู้ป่วยไข้เลือดออก เกิดผู้ป่วย Gen2 ในพื้นที่หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 9 ทำให้เห็นว่าไม่สามารถควบคุมการระบาดใน 2 หมู่บ้านนี้ได้

 

0 0

3. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ผู้รับผิดชอบงานชี้แจงรายละเอียดการประชุม และชี้แจงสถานการณืไข้เลือดออกในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ และ ตำบล ให้ที่ประชุมทราบ
2.วิทยากรให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและแนวทางการควบคุมโรค
3.เจ้าหน้าที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายหาแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือนและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน
4.ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลชะรัด รับการประชุมอบรมเรื่องโรคไข้เลือดออกและแนวทางการควบคุมป้องกันโรค เป้าหมายจำนวน 120 คน เข้ารับอบรม จำนวน 130 คน เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.ภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
3.มีการร่วมกันกำหนดมาตรการทางชุมชนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก ดังนี้
  3.1 อสม.ลงสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ และรายงานผ่านทางแอปสมาร์ทอสม. รายงานด้วยแบบบันทึกการสำรวจลูกน้ำยุงลายและรายงานเป็นภาพถ่ายส่งในไลน์กลุ่มของหมู่บ้าน ทุกสัปดาห์
  3.1 จัดกิจกรรม big cieaning วันศุกร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน โดยให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น จนท.เทศบาลชะรัด ดูแลเก็บขยะข้างถนน , อสม.ลงสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย , เจ้าหน้าที่ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกผ่านทางหอกระจายข่าวหมู่บ้าน , พ่นยุงแบบปูพรมในพื้นที่ที่มีการระบาดแต่ละหมู่บ้าน ,ชาวบ้านลงทำความสะอาดเก็บขยะบริเวณบ้านของตนเอง ,ผู้นำชุมชนประชาสัมพันมาตรการป้องกันโรคทางหอกระจายข่าวทุกวันศุกร์
  3.2 จนท.สาธารณสุข เข้าร่วมในการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เพื่อรายงานสถานการณ์โรคให้ประชาชนทราบทุกเดือน

 

60 0

4. ประเมินผลโครงการ

วันที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จนท.สาธารณสุขชี้แจงกำหนดการประชุม
2.นายกเทศมนตรีตำบลชะรัดพบปะภาคีเครือข่าย
3.จนท.สาธารณสุขรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการพร้อมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
4.ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย
5.ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 1 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 40 คน ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีตำบลชะรัด , จนท.สาธารณสุข ,สท.,ผู้นำชุมชน และ อสม.
2.จนท.สาธารณสุขรายงานผลการดำเนินงานโครงการ แยกรายกิจกรรมดังนี้
  2.1 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่า HI CI โดยอสม.ตรวจเดือนละ 1 ครั้ง
  ผลการดำเนินงาน : อสม.ลงสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ อสม.ส่งครบทุกคน จนท.มีการสรุปผลการสำรวจแจ้งในวันประชุมประจำเดือนทุกเดือน
  ปัญหาอุปสรรค : เจ้าบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการดูแลบริเวณบ้านของตนเอง ทำให้มีขยะ หรือ วัสดุที่ทำให้เกิดน้ำขังนำไปสู่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุง
2.2 พ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคเรียนและกรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออก
  ผลการดำเนินงาน : มีการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน ตค.66 จำนวน 1 ครั้ง และในเดือน พค.67 จำนวน 1 ครั้ง โดยพ่นรร.จำนวน 2 โรง และศพด. จำนวน 3 ศพด. ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคุณครูเวรในวันที่ไปพ่นยุง
  ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี
2.3 ประชุมชี้แจงแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  ผลการดำเนินงาน : มีการจัดประชุมอบรม 1 ครั้ง ในวันที่ 16 พค.67 มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 130 คน ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ จำนวน 120 คน โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้นำชุมชน และ อสม. และมีการกำหนดมาตรการร่วมกันในชุมจำนวน 3 ข้อ ตามบันทึกรายงานผลกิจกรรมด้านบน
  ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
ตัวชี้วัด : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)
60.50 20.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4890
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,890
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย พร้อมทั้งสำรวจค่า HI,CI โดยอสม.ตรวจทุกเดือน (2) พ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคเรียนและกรณีพบผู้ป่วย (3) ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก (4) ประเมินผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 จังหวัด

รหัสโครงการ L3308-67-02-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสมนึก ทองรอด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด