กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุกในเขตเทศบาลนครตรัง
รหัสโครงการ 2567 – L6896 – 01 – 03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 88,985.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมบัติ สธนเสาวภาคย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติการณ์วัณโรคของประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลง ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำที่ค้นพบและขึ้นทะเบียนรักษา (Treatment Coverage) ปี พ.ศ. 2558 - 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการค้นพบและขึ้นทะเบียนรักษาของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2563 พบร้อยละ 53, 57, 74, 80, 84 และ 82 ตามลำดับ และจากรายงานวัณโรคระดับโลก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO, Global Tuberculosis Report 2021) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ 2563 ประเทศไทย จะมีอุบัติการณ์ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ 105,000 ราย หรือคิดเป็น 150 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 12,000 ราย แต่ผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี พ.ศ. 2563 กลับพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำขึ้นทะเบียนรักษา 85,837 ราย ซึ่งผลงานการคัดกรองเพื่อขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่วยยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในประเทศไทยที่ผ่านมามีแนวโน้มอัตราการรักษาสำเร็จเพิ่มขึ้น รักษาล้มเหลว ขาดยาและโอนออกลดลง ส่วนอัตราการเสียชีวิตยังคงสูงและเป็นปัญหาของประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่สูงอายุและมีโรคร่วม
      สถานการณ์ผลการค้นหาและขึ้นทะเบียนการรักษาวัณโรคของจังหวัดตรังทุกประเภท ในปี 2565 พบว่า จังหวัดตรังขึ้นทะเบียนการรักษาวัณโรครวม จำนวน 491 ราย อำเภอเมืองตรัง จำนวน 199 ราย และในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 47 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.1, 85.7 และ 55.95 ตามลำดับ พบว่าผลงานการคัดกรองเพื่อขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ทุกระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ร้อยละ 90 ของจำนวนผู้ป่วยที่คาดการณ์ว่าจะพบเพื่อขึ้นทะเบียนรักษา) ส่วนอัตราการรักษาสำเร็จ ปี 2565 ของจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง และเขตเทศบาลนครตรัง มีอัตราการรักษาสำเร็จ ร้อยละ84, 88.7, 90.8 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าอัตรารักษาสำเร็จสูงและผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 85)อัตราเสียชีวิตและขาดยาของจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง และเขตเทศบาลนครตรัง ร้อยละ 10.5 , 11.22 , 7.14 จากข้อมูลพบว่าอัตราเสียชีวิตและขาดยาสูงทั้งในระดับจังหวัด อำเภอเมืองและเขตเทศบาลนครตรัง ในการนี้ งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโรควัณโรคในชุมชน โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพของทีม อสม. เรื่องของโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม , ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่และที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ,ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง , ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง , ผู้ป่วยจิตเวชและติดยาเสพติด สูบบุหรี่ , ผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้าน รวมทั้งมีการดำเนินการส่งต่อเพื่อเข้ารับรักษาโดยเร็ว
      ดังนั้น งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลตรัง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุก เทศบาลนครตรัง ปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม.ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการค้นหาผู้ป่วย การป้องกันและควบคุม โรควัณโรคเพิ่มขึ้น

อสม.ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาผู้ป่วย การป้องกันและควบคุมโรควัณโรคอย่างน้อย ร้อยละ 90

2 เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และลดความล่าช้าในการตรวจวินิจฉัยในกลุ่มเสี่ยง

อสม. สำรวจและคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงครอบคลุมทุกหลังคาเรือนตามทะเบียนที่รับผิดชอบ และกลุ่มที่คัดกรองและพบภาวะเสี่ยงเป็นวัณโรคได้รับการคัดกรองด้วยการเอกซเรย์ปอด ร้อยละ 90

3 ผู้ป่วยวัณโรคที่พบจากการคัดกรองได้เข้าสู่ระบบ การขึ้นทะเบียนรักษา

ผู้ป่วยวัณโรคที่พบจากการคัดกรองได้เข้าสู่ระบบการรักษาร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลตรังและเทศบาลนครตรัง(1 พ.ย. 2566-30 ก.ย. 2567) 1,350.00                      
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 พ.ย. 2566-30 ก.ย. 2567) 27,210.00                      
3 อสม.สำรวจและคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกหลังคาเรือนในเขตความรับผิดชอบ(1 พ.ย. 2566-30 ก.ย. 2567) 2,750.00                      
4 จัดกิจกรรมคัดกรองด้วยการเอกซเรย์ปอดแก่กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง โดยรถเอกซเรย์ ดิจิตอลพระราชทานในชุมชน จำนวน 3 ครั้งต่อปี(1 พ.ย. 2566-30 ก.ย. 2567) 13,050.00                      
5 จัดทำสื่อให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์การป้องกันควบคุมโรควัณโรคในชุมชน(1 พ.ย. 2566-30 ก.ย. 2567) 44,625.00                      
รวม 88,985.00
1 ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลตรังและเทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,350.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลตรังและเทศบาลนครตรัง จำนวน 3 ครั้ง 0 1,350.00 -
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 27,210.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้แก่ อสม. และสร้างทีมเพื่อค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน 0 27,210.00 -
3 อสม.สำรวจและคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกหลังคาเรือนในเขตความรับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,750.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 อสม.สำรวจและคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกหลังคาเรือนในเขตความรับผิดชอบ 0 2,750.00 -
4 จัดกิจกรรมคัดกรองด้วยการเอกซเรย์ปอดแก่กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง โดยรถเอกซเรย์ ดิจิตอลพระราชทานในชุมชน จำนวน 3 ครั้งต่อปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,050.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมคัดกรองด้วยการเอกซเรย์ปอดแก่กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง โดยรถเอกซเรย์ ดิจิตอลพระราชทานในชุมชน จำนวน 3 ครั้งต่อปี 0 13,050.00 -
5 จัดทำสื่อให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์การป้องกันควบคุมโรควัณโรคในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 44,625.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดทำสื่อให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์การป้องกันควบคุมโรควัณโรคในชุมชน 0 44,625.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ได้รับการอบรมให้ความรู้ครบทุกคน มีองค์ความรู้ในการคัดกรอง ป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
  2. ประชาชนกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการคัดกรองด้วยการเอกซเรย์ปอดโดยรถเอกซเรย์ดิจิตอลพระราชทาน ในชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  3. ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อ ตรวจและรักษาตามแนวทางการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลตรัง สามารถรักษาสำเร็จเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 13:29 น.