กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ ฝาละมีสุขใจ บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี ”
หมู่ที่ 1 และ ม.10 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
นางบุญพา พรหมแก้ว




ชื่อโครงการ ฝาละมีสุขใจ บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี

ที่อยู่ หมู่ที่ 1 และ ม.10 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ L3338-02-06 เลขที่ข้อตกลง L3338-02-06

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"ฝาละมีสุขใจ บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 1 และ ม.10 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฝาละมีสุขใจ บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ (2) เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย (3) เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย (2) กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง (3) จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน (4) ส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ปลูกผักกินเอง (5) จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ในการลูกผักปลอดสารเคมีโดยใช้วัสดุในพื้นท่ีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมเอง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ปัญหาที่พบและต้องการการแก้ไข ระยะเวลาในการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีกระบวนการหลายขั้นตอนซึ่งแต่ ละขั้นตอนต้องใช้เวลามาก (2).ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมในปีต่อไป ควรเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้น ควรมีการตรวจติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประชากรในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมีส่วนใหญ่มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น หมู่ที่ 1และ 10 ตำบลฝาละมีเป็นพื้นที่ ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำนา และทำสวนปาล์มผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวชมรม อสม. หมูที่ 1 และ 10 ตำบลฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
  2. เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
  3. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย
  2. กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง
  3. จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน
  4. ส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ปลูกผักกินเอง
  5. จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ในการลูกผักปลอดสารเคมีโดยใช้วัสดุในพื้นท่ีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมเอง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยง 2.ประชาชนมีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี 3.ประชาชนได้รับการบริโภคผักปลอดภัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 1 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แจ้ง ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย ประชุม อสม. ประชาชน ในพื้นที่ ชี้แจ้งวัตถุประสงค์โครงการ สำรวจรายชื่อผู้สนใจเข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดประชุม ชี้แจงกลุ่มเป้าหมายทราบ 1  ครั้ง ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ  การประชุมหมู่บ้าน  หอกระจายข่าว

 

0 0

2. กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง

วันที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายทราบ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดกลุ่มเป้าหมาาย
แปรผล แจ้งผลการตรวจแก่กลุ่มเป้าหมาย แนะนำการปรับเปียนพฤติกรรม ให้ความรู้เรื่องสารเคมีตกค้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด แก่ประชาชน ทั้งสิ้นจำนวน 336 คน (งบสนับสนุนเพิ่มเติมจากเงินบำรุง รพ.สต.บ้านฝาละมี ) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ผลการตรวจหาสารเคมีในกลุ่มเป้าหมาย - ปลอดภัย 33 คน ร้อยละ 9.82 - เสี่ยง 182 คน ร้อยละ 54.16 - ไม่ปลอดภัย 131 คน ร้อยละ 38.98 ให้คำแนะนำการลดการใช้สารเคมี โดยใช้สมุนไพร รางจืด การล้างผัก ผลไม่

 

0 0

3. ส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ปลูกผักกินเอง

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แจ้งกลุ่มเป้าหมาย
ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ จัดหาพันธุ์ผัก
แจกจ่ายพันธุ์ผักกลุ่มเป้าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักปลอดสารพิษ แจกจ่าย พันธุ์ผักกลุ่มเป้าหมาย  60  ครัวเรือน

 

0 0

4. จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แจ้งกลุ่มเป้าหมายทราย ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
จัดประชุม ให้ความรู้ สาธิตการผลิดปุ๋ยอินทรีย์ แจกจ่ายปุ๋ยอินทรีย์แก่กลุ่มเป่าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม จำนวน  60  คน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และสามารถผลิดปุ๋ยอินทรีย์ได้ กลุ่มเป้าหมาย มีและใช้ปุ๋ยอินทรีย์  จำนวน 60 ครอบครัว การทำปุ๋ยหมัก สูตร ปรับปรุงดิน ปลูกผัก (สูตรนี้ได้ 1000 กิโล) **  วัสดุ  ** 1.มูลสัตว์(ขี้ไก่ ขี้วัว)  400.    กิโล 2.เศษพืช. /ขี้เลื่อย  400.  กิโล 3.รำข้าว.      50. กิโล 4.หยวก.        50.  กิโล 5.โคโลไมท์.    40. กิโล 6.แกลบดำ.    10. กิโล (ไม่ใช่ขี้เถ้าดำนะ) 7.จุลินทรีย์ท้องถิ่น (น้ำหมัก)          50. ลิตร หมายเหตุ  เราสามารถปรับสูตร ได้ตามจำนวนที่เราต้องการจะทำ

เกร็ด

  1. มูลสัตว์  (ขี้วัว ,ขี้ไก่ )เป็นอาหารของพืชจำนวน 400 กิโล (เวลาทำ ให้แบ่งครึ่งไว้ก่อน เพราะต้องทำสลับชั้น
  2. เศษพืช อาจจะเป็นขี้เลื่อย (ในวันนี้ใช้ขี้เลื่อย) กิ่งไม้ ใบไม้ ฟางข้าว ฟางข้าวโพด ทางปาล์ม ทางมะพร้าว ต้นถั่วลิสง ถ้าเป็นกิ่ง เป็นต้นก็ต้อง คุณสมบัติคือ ทำให้ดินมีช่องว่าง ช่วยให้รากพืชชอนไชไปหาอาหารได้ )จำนวน  400. กิโลรายการนี้เวลาทำก็แบ่งครึ่ง เหมือนกัน 3.รำข้าว มีวิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นอาหารให้จุลินทรีย์ ปรับความเป็นกรด เป็นด่าง 4.หยวกกล้วย กล้วยชนิดไหนก็ได้ หยวกจะมีน้ำในหยวกเยอะ มีโปแตสเซี่ยมสูง เป็นที่หลบซ่อนของจุลินทรีย์ ให้สับเป็นชิ้นๆก่อนเอามาทำขนาดชิ้นก็ประมาณเอาอาจจะ 2-4 นิ้วก็ได้ ไม่ต้องละเอียดมาก 5.โคโลไมท์

 

0 0

5. จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ในการลูกผักปลอดสารเคมีโดยใช้วัสดุในพื้นท่ีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมเอง

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แจ้งกลุ่มเป้าหมายทราบ ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เรียนรู้ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ แจกจ่าย ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป่หมาย เรียนรู้และสามารถทำปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพได้ จำนวน  30 ครัวเรือน ครัวเรื่อนมีและใช้ปุ็ยและน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 30 ครัวเรือน ครัวเรือนปลูกและกินผักปลอดสารพิษ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากการซื้อปุ๋ยและน้ำหมัก

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
ตัวชี้วัด : ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด
30.34 40.00 50.00

 

2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
48.69 30.00 28.00

 

3 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย
50.00 80.00 85.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 35
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ (2) เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย (3) เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย (2) กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง (3) จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน (4) ส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ปลูกผักกินเอง (5) จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ในการลูกผักปลอดสารเคมีโดยใช้วัสดุในพื้นท่ีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมเอง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ปัญหาที่พบและต้องการการแก้ไข ระยะเวลาในการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีกระบวนการหลายขั้นตอนซึ่งแต่ ละขั้นตอนต้องใช้เวลามาก (2).ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมในปีต่อไป ควรเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้น ควรมีการตรวจติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ประชาชน ส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ และความตระหนัก ในเรื่อง อันตรายจากการใช้สารเคมี

การการกระตุ้นเตือน อย่างสม่ำเสมอ

ส่งเสริมให้ชุมชน มีแผนงาน/โครงการ ลดละเลิกการใช้สารเคมี รณรงค์ให้ความรู้ และติดตามอย่างต่อเนื่อง


ฝาละมีสุขใจ บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ L3338-02-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางบุญพา พรหมแก้ว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด