กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะในโรงเรียนวัดบ้านสวน(คงวิทยาคาร) ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดบ้านสวน(คงวิทยาคาร)
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 27,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำพร บัวขาว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมทรง ประยูรวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาขยะในโรงเรียนวัดบ้านสวน(มีขยะเปียก ขยะทั่วไป) 5 กิโลกรัมต่อวัน
5.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
94.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญมาทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะ ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการกำจัดไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ ในแต่ละวันจะมีขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนนับร้อยล้านตัน แต่เราสามารถกำจัดขยะได้เพียงวันละไม่กี่สิบล้านตันเท่านั้น จึงมีขยะที่เหลือตกค้างรอการกำจัดอยู่จำนวนมาก แม้รัฐบาลจะมีพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหาเป็นอย่างมากทั้งทางด้านทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด ฯลฯ เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ถึงแม้ว่าในปีหนึ่ง ๆ ประเทศจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากไปกับการจัดการด้านขยะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากรัฐบาลยังมีการบริหารการจัดการขยะยังไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนในประเทศเองก็ยังขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้เป็นที่ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมทั้งขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่เพราะพอได้ยินคำว่า "ขยะ" หลาย ๆ คนก็ไม่สนใจ ละเลยและไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นหากนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธีแล้วจะสร้างประโยชน์ได้ และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรและเงินงบประมาณแผ่นดินได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณขยะก็จะลดจำนวนลงได้มาก ซึ่งจะส่งผลดีทั่งต่อสิ่งแวดล้อม ต่อประชากร และต่อประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

1.สร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดกับนักเรียน ร้อยละ 80 (จำนวนนักเรียนทั้งหมด 81 คน บุคลากรในโรงเรียน จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 91 คน)

20.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

94.00 98.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะทุกประเภทในโรงเรียน กก.ต่อวัน

ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง ร้อยละ 80

5.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,850.00 0 0.00
4 ม.ค. 67 ประชุมวางแผนโครงการร่วมกับคณะทำงาน ของโรงเรียนจำนวน 10 คน 0 250.00 -
15 ก.พ. 67 pre test ก่อนอบรมเรื่องการคัดแยกขยะ 0 100.00 -
16 ก.พ. 67 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ 0 8,350.00 -
21 - 28 ก.พ. 67 สร้างจุดสาธิตการคัดแยกขยะในโรงเรียน 0 17,700.00 -
22 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 รณรงค์ BIG CLEANING DAY 0 300.00 -
22 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 ธนาคารขยะ 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทุก 2 เดือน 0 750.00 -
29 ส.ค. 67 กิจกรรม Post test หลังอบรม รวมถึงประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ 0 200.00 -
2 ก.ย. 67 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนในโรงเรียนมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปคัดแยกขยะในครัวเรือน 3.ลดปริมาณขยะทุกประเภทในโรงเรียน 4.นักเรียนสามารถดำเนินการธนาคารขยะในโรงเรียนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 15:33 น.