แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)
กิจกรรม | ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ||
ประชุมวางแผนโครงการร่วมกับคณะทำงาน ของโรงเรียนจำนวน 10 คน | 4 ม.ค. 2567 | 16 ก.พ. 2567 |
|
1.นายสุริยา ชาญทะเล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านสวน(คงวิทยาคาร) จัดประชุมคณะครูและบุคลากรในโรงเรียน โดยมอบหน้าที่ให้นางอำพร บัวขาว ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการขยะในโรงเรียนวัดบ้านสวน(คงวิทยาคาร) ปี 2567 ดำเนินการประชุมเพื่อชี้แจงวิธีการดำเนินงานทราบ และมอบหมายงานตามคำสั่งโงเรียนวัดบ้านสวน(คงวิทยาคาร) ให้กับบุคลากร วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดบ้านสวน(คงวิทยาคาร) มีผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน โดยชี้แจงให้ทราบถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
|
|
pre test ก่อนอบรมเรื่องการคัดแยกขยะ | 15 ก.พ. 2567 | 22 มี.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ | 16 ก.พ. 2567 | 22 มี.ค. 2567 |
|
โรงเรียนจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เกี่่ยวกับปัญหาขยะ และวิธีการคัดแยกขยะให้กับนักเรียน จำนวน 69 คน ณ ศาลาสร้างสุข โรงเรียนวัดบ้านสวน (คงวิทยาคาร) โดยมีวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุน จำนวน 2 คน มาให้ความรู้ |
|
นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านสวน (คงวิทยาคาร) และคณะครู ได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ การนำของเหลือใช้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้งตามหลัก 3 R นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารพเผยแพร่ให้กับครอบครัว และชุมชน ได้ |
|
สร้างจุดสาธิตการคัดแยกขยะในโรงเรียน | 21 ก.พ. 2567 | 21 ก.พ. 2567 |
|
โรงเรียนวัดบ้านสวน (คงวิทยาคาร) จัดซื้อจัดจ้างรายการต่อไปนี้ 1. ตะแกรงลวดแยกขยะประเภทพลาสติกและขวดแก้ว ช่องใส่ขยะด้านบน บานประตูเปิดด้านหน้า จำนวน 1 ชุด 2. ชุดคัดแยกขยะ ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 60 ลิตร ฝาช่องทิ้งบานสวิง 4 ใบ (สีแดง 1 ใบ/สีน้ำเงิน 1 ใบ/สีเขียว 1 ใบ/สีเหลือง 1 ใบ) พร้อมขาตั้งและป้ายข้อความโครงการ จำนวน 1 ชุด |
|
โรงเรียนมีจุดคัดแยกขยะ นักเรียนรู้จักคัดแยกขยะจาก
- ตะแกรงลวดใส่ขวดพลาสติก / ขวดแก้ว |
|
รณรงค์ BIG CLEANING DAY | 22 ก.พ. 2567 | 23 พ.ค. 2567 |
|
โรงเรียนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทุกวันพฤหัสบดีในชั่วโมงการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ/เนตรนารี) ซึ่งหลังจากการทบทวนกฎของลูกเสือ เนตรนารี หรือทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสร็จแล้ว คณะครูจะนำลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญ รวมทั้งเนตรนารี รวมถึงเด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ 2-3 จำนวน 69 คน ร่วมกันทำกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนและชุมชน เก็บขยะในโรงเรียนและถนนในชุมชนรอบโรงเรียน รวมถึงวัดบ้านสวน |
|
จากการทำกิจกรรม Big Cleaning Day บริเวณภายในโรงเรียน ถนนในชุมชนรอบโรงเรียน รวมถึงบริเวณวัดมีความมากขึ้นสะอาด |
|
ธนาคารขยะ | 22 ก.พ. 2567 | 22 ก.พ. 2567 |
|
โรงเรียนประชุมจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ มีสภานักเรียนเป็นตัวขับเคลื่อนในการดำเนินกิจกรรม โดยมีครูเจ้าของโครงการเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน ครูประจำชั้นร่วมขับเคลื่อนโครงการ
วิธีการ |
|
1.นักเรียนมีรายได้จากการนำขยะที่มีมูลค่ามาจำหน่ายที่โรงเรียน
2.โรงเรียนมีรายได้จ่ากการจำหน่ายขยะ
3.ฝึกให้นักเรียนรู้จักเห็นคุณค่าของขยะสิ่งของเหลือใช้ |
|
ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทุก 2 เดือน | 1 มี.ค. 2567 | 1 มี.ค. 2567 |
|
โรงเรียนจัดประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู และบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 10 คน จำนวน 4 ครั้ง |
|
เพื่อติดตามการดำเนินงาน ทราบความคืบหน้าของโครงการ |
|
Pretest ก่อนอบรมเรื่องการคัดแยกขยะ | 22 มี.ค. 2567 | 22 มี.ค. 2567 |
|
โรงเรียนจัดการทดสอบก่อนการอบรมให้ความรู้เรื่องของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะ (Pre test) เพื่อทดสอบความรู้เบื้องต้นของนักเรียน จำนวน 69 คน |
|
ทราบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขยะของนักเรียน |
|
กิจกรรม Post test หลังอบรม รวมถึงประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ | 29 ส.ค. 2567 | 29 ส.ค. 2567 |
|
โรงเรียนจัดการทดสอบหลังการดำเนินอบรมโครงการคัดแยกขยะ และประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยมีแบบทดสอบหลังเข้ารับการอบรม (Post Test) นักเรียน จำนวน 69 ชุด ทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการคัดแยกขยะฯ ของนักเรียน ครูและบุคลากร จำนวน 94 คน |
|
นักเรียน ครูและบุคลากรมีความพึงพอใจต่อโครงการคัดแยกขยะภายในโรงเรียนวัดบ้านสวน (คงวิทยาคาร) ประจำปี 2567 ร้อยละ 90 |
|
สรุปและประเมินผลโครงการ | 2 ก.ย. 2567 | 30 ส.ค. 2567 |
|
|
|
จากผลการดำเนินโครงการจัดการขยะในโรงเรียนวัดบ้านสวน (คงวิทยาคาร) นักเรียน ครู และบุคลากร มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการฯ ร้อยละ 85 นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้าน โรงเรียนหรือที่สาธารณะอื่น ๆ ทำให้นักเรียน รู้คุณค่าของขยะจากการนำขยะทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนมาจำหน่ายให้กับพ่อค้าเกิดรายได้ให้กับตนเองเมื่อเกิดรายได้นักเรียนก็กระตือรือร้นในการคัดแยกขยะมากขึ้น อีกทั้งนักเรียนรู้จักนำขยะจากขวดพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นของเล่นเพื่อลดภาระให้กับผู้ปกครอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความสุขมากขึ้น |
|