กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อย เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67 - L1519 - 1 - 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลวังวิเศษ
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสถาพร อาจมังกร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,99.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) หมายถึง โรคที่มีอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีจุดเลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดฝอย น้ำเลือดซึมออกมานอกหลอดเลือด ทำให้ปริมาฯน้ำเลือดลดลง เกิดความไม่สมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และอาจเกิดภาวะช็อค (Hypovolemic shock) ร่วมกับอาการที่เกิดจากเชื้อเดงกี่จะทำลายเกล็ดเลือด เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ง่าย โดยผู้ป่วยจะมีจุดเลือดตามแขนตามขา และอาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย รวมทั้งอุจจาระมีเลือดออก (จรวย สุวรรณบำรุง ,2560) จากสถานการณ์โดยรวมของไข้เลือดออก ปี 2566 พบว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2566 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF ,Dengue hemorrhagic fever : DHF ,Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 106,548 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 161.02 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 102 ราย คิดเป็น อัตราตาย 0.15 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 พบมากสุดในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี (22.59%) รองลงมากลุ่มอายุ 10 - 14 ปี (20.67%) พบมากในกลุ่มอาชีพนักเรียน ร้อยละ 47.40 รองลงมาอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 19.80 สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเขต 12 รายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2566 พบผู้ป่วย 10,630 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 212.99 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 16 ราย (จังหวัดนราธิวาส 2 ราย จังหวัดปัตตานี จำนวน 2 ราย จังหวัดสงขลา 5 ราย ,ตรัง 2 ราย สตูล 3 ราย ,พัทลุง 1 รายและยะลา 1 ราย) คิดเป็นอัตราตาย 0.32 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.15 และจังหวัดตรัง 115.48 ต่อประชากรแสนคน (737 ราย) จัดอยู่ในลำดับ 49 ของประเทศ ( ที่มา : ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 )     รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ในจังหวัดตรัง ในสัปดาห์ที่ 39 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จาก 10 อำเภอในจังหวัดตรัง พบผู้ป่วย จำนวน 737 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 115.48 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย (อำเภอห้วยยอด 1 ราย,อำเภอย่านตาขาว 1 ราย) คิดเป็น อัตราตาย 0.31 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.27 อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอวังวิเศษ จำนวน 128 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 294.19 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอสิเกา จำนวน 73 รายคิดเป็นอัตราป่วย 189.97 ต่อประชากรแสนคน และ อำเภอหาดสำราญ จำนวน 29 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 171.89 ต่อประชากรแสนคน (สำนักระบาดวิทยา , 2566)     รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 128ราย พบว่า ตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ตำบลอ่าวตง มีอัตราป่วยเท่ากับ 521.95 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ ตำบลวังมะปรางเหนือ, ตำบลเขาวิเศษ, ตำบลท่าสะบ้า และตำบลวังมะปราง โดยมีอัตราป่วยเท่ากับ 311.67, 208.13, 184.23 และ 141.12 ต่อ ประชากรแสนคน ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 294.19 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี โดยมีจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 28 ราย (ร้อยละ 21.88) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี (27 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.09) และอายุ5 - 9 ปี(24 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.75) ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ ในปกครองหรือไม่มีงานทำ จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 50 ราย (คิดเป็นร้อยละ 39.06) รองลงมาคือ อาชีพนักเรียน (38 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.69) และอาชีพเกษตร (23 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.97) ตามลำดับ (สำนักระบาดวิทยา , 2566)     จากปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าวกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลวังวิเศษได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการสร้างแกนนำอาสาสมัครในกลุ่มนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของ อบต.วังมะปรางเหนือ สามารถขับเคลื่อนครอบครัวและชุมชนในการจัดการและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมและป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมและป้องกันโรค

80.00
2 กลุ่มเป้าหมายสามารถสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายสามารถสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม

80.00
3 กลุ่มเป้าหมายสามารถคำนวณดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ได้เบื้องต้น

กลุ่มเป้าหมายสามารถคำนวณดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ได้เบื้องต้น

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 15:48 น.