กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "อบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายป้องกันโรคโรคไข้เลือดออกในชุมชน"
รหัสโครงการ 67-L2995-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาหยุดพระ
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 13,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกามารียะ สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะ ที่สำคัญและพบบ่อยในพื้นที่คือ โรคไข้เลือดออก โรคไวรัสซิก้า และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า) ซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วสร้างความเจ็บปวด ทรมาน บางรายถึงขั้นเสียชีวิต เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีผลต่อการทำมาหากิน ส่งผลให้เสียรายได้ ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไปทุกหมู่บ้านในประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี สาเหตุที่ทำให้ปัญหาโรคเหล่านี้ยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความตระหนักในการป้องกันโรค การดำเนินการป้องกันโรคเน้นให้ประชาชนรู้จักการดูแลป้องกันตนเองให้ยึดหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก็บบ้านให้สะอาด ไม่รกทึบจนเป็นที่เกาะพักของยุงลาย, เก็บขยะ เศษภาชนะที่อาจมีน้ำขังไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเก็บภาชนะใส่น้ำปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาหยุดพระ เห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงมีการดำเนินการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายป้องกันโรคโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ระดมความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง อีกทั้งสร้างจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรค อันจะนำไปสู่ ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เพิ่มมากขึ้น 2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 3.เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( HI< 10 และ CI= 0 )

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้น 80% 2.ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในGeneration2 เกิดขึ้นในชุมชน 3.ค่า HI< 10 และ ค่าCI= 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 13,950.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการทีม อสม.และทีมอาสาสมัครเคลื่อนที่เร็วในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค 60 13,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมโรคอย่างรวดเร็วโดยทีมอาสาสมัคร
  2. อสม.มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคและดูแลเขตรับผิดชอบของตนเอง
  3. ประชาชนในชุมชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  4. สิ่งแวดล้อมในชุมชนสะอาดไม่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุง ลดความชุกของปริมาณลูกน้ำ (HI CI)
  5. เกิดทีมอาสาสมัครเคลื่อนที่เร็วในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 10:20 น.