กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “เช็คอินสุขภาพ เริ่มที่ใส่ใจ”
รหัสโครงการ 67-L2995-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 27 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 22,105.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 313 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และความเจริญทางเทคโนโลยี มีผลทำให้สุขภาพประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน   จากการายงานสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก (กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข: พ.ศ.2564) มีจำนวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยเบาหวานในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน ของกระทรวงสาธารณสุข โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆในกลุ่มโรค NCD อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคมะเร็ง ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก ในส่วนของกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมาก ก็จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย ก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขจะต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยตั้งแต่การคัดกรอง แล้วมาจับกลุ่ม ดี เสี่ยง ป่วย ในกลุ่มป่วย ต้องดำเนินการให้การรักษา จะต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอจึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน   เมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี พบว่าโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ โดยพบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 28 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงในคนเดียวกันจำนวน 37 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 124 คน และในจำนวนนี้พบว่า ในปีพ.ศ.2564 ถึง 2566 มีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคเบาหวานได้ มีจำนวนร้อยละ 17.65, 22.58 และ10.94 ตามลำดับ และมีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ มีจำนวนร้อยละ 54.72, 52.83 และ45.06 ตามลำดับ ดูจากจำนวนร้อยละของทั้งสองโรคมีแนวโน้มของการควบคุมโรคลดลง ในส่วนของการค้นพบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วในปีพ.ศ.2566 มีจำนวน 1 ราย และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 5 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อที่จะทำการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจให้มากที่สุดในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่สู่การได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยได้มากขึ้นโดยให้ทีมงาน อสม.และภาคีเครือข่ายติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรอง ติดตามผลการตรวจ และกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ร้อยละ 95 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้อต้น 2.เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงรายใหม่ในการเข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.ร้อยละ 100 ของผู้สงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย 4.ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5.ร้อยละ 70 ของกลุ่มป่วยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี

1.ร้อยละ 95 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้อต้น

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 408 22,105.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 27 ก.ย. 67 1.ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมายและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3.จัดทำโครงการและขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประ 408 22,105.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง 3.กลุ่มป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น 4.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย 5.ภาคีเครือข่ายเห็นความสำคัญของปัญหาการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 10:56 น.