กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ในเขต อบต. วังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค/ปัญหาสุขภาพในพื้นที่

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ในเขต อบต. วังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค/ปัญหาสุขภาพในพื้นที่
รหัสโครงการ 67 L1519 - 1 - 11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลวังวิเศษ
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปณิดา เพรชรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,99.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ Covid-19 เป็นต้น โรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในพื้นที่ เช่น ยาเสพติ และจิตเวช
การดำเนินงานด้านสาธารณสุขของอำเภอวังวิเศษก็มีแนวโน้มเปลี่ยนไป โดยในปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมาโรค และภัยสุขภาพที่เป็นจุดเน้นสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง กลุ่มโรคฉุกเฉิน ได้แก่ Stroke ,STEMI และอุบัติเหตุ กลุ่มโรคติดต่อได้แก่ Sepsis กลุ่มโรคระบาดได้แก่ โรคไข้เลือดออก และฉี่หนู ภัยสุขภาพในพื้นที่ได้แก่ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด และจิตเวช ซึ่งโรค และปัญหาสุขภาพในพื้นโดยส่วนใหญ่เป็นผลจากพฤติกรรมสุขภาพ การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน และพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศด้านสุขภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนางานสาธารณสุข เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนางานสาธารณสุข ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ ใช้ในการบริหารงาน การควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย สถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา การให้บริการด้านต่าง ๆ ต้องครอบคลุมพื้นที่และประชากรในเขตรับผิดชอบเพื่อนำมาพัฒนาประสิทธิภาพงานสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพดี โรงพยาบาลวังวิเศษมีระบบข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศด้านสุขภาพ ซึ่งใช้บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ และการให้บริการผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรม HOSxP ซึ่งในระบบงานบัญชี 1 ของโปรแกรมดังกล่าวจะประกอบไปด้วยข้อมูลของประชากรทุกกลุ่มอายุ ทั้งในเขตรับผิดชอบและนอกเขตรับผิดชอบ ซึ่งก่อนที่จะใช้งานข้อมูลในบัญชีอื่น ต้องบันทึกข้อมูลประชากรในเขตรับผิดชอบให้ครบถ้วนเสียก่อน เนื่องจากในระบบบัญชีอื่นๆ ต่างก็จำเป็นต้องให้ข้อมูลอ้างอิงจากระบบงานบัญชี 1 โดยมีการแบ่งประชากร ทั้งในเขตรับผิดชอบและนอกเขตรับผิดชอบ
ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพของโรงพยาบาลวังวิเศษ ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2566 พบว่าข้อมูลในระบบงานบัญชี 1 ในระบบโปรแกรม HOSxP ของประชากรตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังมีความแตกต่างกับข้อมูลประชากรทะเบียนราษฎร์ คิดเป็นร้อยละของส่วนต่างเท่ากับ 20.53 ส่งผลให้มีความคลาดเคลื่อนในการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์เพื่อการวางแผน การคำนวณผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย การสำรวจ และการลงข้อมูล ที่ถูกต้อง จึงมีความสำคัญต่อระบบงานบัญชี 1 ของโปรแกรม และการใช้งานโปรแกรมในบัญชีอื่นต่อไป
ในการนี้โรงพยาบาลวังวิเศษจึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ในเขตอบต. วังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค/ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านสุขภาพ ในการปรับปรุงข้อมูลประชากรในระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ให้มีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงนำมาพัฒนาประสิทธิภาพงานสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น แกนนำสุขภาพร่วมวิเคราะห์ และรับรู้สถานะปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อในชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ และปัญหาหาสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 : แกนนำสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางเหนือ และวิทยากร
จำนวน 130 คน (รุ่นละ 65 คน จำนวน 2 รุ่น) กิจกรรมที่ 2 : แกนนำสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางเหนือ และวิทยากร
จำนวน 60 คน กิจกรรมที่ 3 : แกนนำสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางเหนือ และวิทยากร จำนวน 60 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 14:48 น.