กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะโรคไข้เลือดออกระบาด ตำบลมะกรูด ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67 - L2985 – 05 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุข สำนักปลัด เทศบาลตำบลมะกรูด
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 65,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรัยณี เจ๊ะบือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2566 31 มี.ค. 2567 65,850.00
รวมงบประมาณ 65,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกัน ควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค ของภาครัฐและชุมชนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทยได้เลย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลาย โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอกควันกรณีพบผู้ป่วย โรคไข้เลือดออกมักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรค คือ ยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน มีการขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น  โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด
      จากการรายงานสอบสวนโรคไข้เลือดออก พื้นที่ตำบลมะกรูด ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 15 ราย ซึ่งพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ได้แก่ หมู่ที่ 5 ตำบลมะกรูด และโรงเรียนจิปิภพพิทยา หมู่ที่ 3 โดยพบผู้ป่วยต่อเนื่องทุกสัปดาห์ จึงจำเป็นต้องมีการป้องกัน และควบคุมโรคให้รวดเร็ว ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค และการตัดวงจรการแพร่เชื้อโรคจากยุงที่อาจมีเชื้อและนำไปสู่คนอื่นต่อไป
      ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างทันท่วงที งานสาธารณสุข สำนักปลัด เทศบาลตำบลมะกรูด จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโรคไข้เลือดออกระบาด ตำบลมะกรูด ปีงบประมาณ 2567 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดการระบาดต่อเนื่องในพื้นที่เพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

อัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก  ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

2 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมทันเวลาตามมาตรการ

100.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ค่า HI เป็น 0 , ค่า CI เป็น 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 65,850.00 2 65,850.00
1 ธ.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 0.00
1 ธ.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมป้องกัน และควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก 50 65,850.00 65,850.00
  1. เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  2. ดำเนินกิจกรรมการตามโครงการ
      2.1 กิจกรรมสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย           - ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต, คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) ในพื้นที่ระบาด
              - ปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย แกนนำสาธารณสุข (อสม.)
      2.2 กิจกรรมป้องกัน และควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก           - จัดหาครุภัณฑ์ เคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
              - การพ่นหมอกควัน เพื่อควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก
  3. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดการระบาดของโรคไม่ให้ขยายไปในวงกว้าง
  2. ครัวเรือนที่มีการระบาดจากโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุมโรค
  3. มีครุภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคภายในชุมชนอย่างเพียงพอ
  4. ค่า HI เป็น 0 , ค่า CI เป็น 0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 09:44 น.