กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงานร่วมกันออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน 1 ก.พ. 2567 28 ก.พ. 2567

 

ประชุมคณะทำงานร่วมกันออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน

 

อสม. แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ประจำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และได้ออกแบบกิจกรรมร่วมกัน

 

ประเมินองค์ประกอบมวลกายและตรวจสุขภาพ 1 มี.ค. 2567 3 พ.ค. 2567

 

กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจประเมินองค์ประกอบมวลกาย เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความสูง วัดรอบเอว ประเมินดัชนีมวลกาย ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และประเมินองค์ประกอบมวลกาย

 

กลุ่มเป้าหมายได้ทราบข้อมูลพื้นฐานของร่างกายเพื่อนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีต่อไป จำนวน 50 คน

 

จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 มี.ค. 2567 3 พ.ค. 2567

 

จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก่กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน  จำนวน 50 คน วิทยากรโดย คุณนันทิยา พานิชายุนนท์ พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ  คุณนิสรัตน์ อินมณเฑียร กลุ่มงานโภชนศาสตร์ และคุณอดิศร ชุมคช กลุ่มงานสุขศึกษา รพ.พัทลุง

 

กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน มีความรู้และมีพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น ทุกคน คิดเป็นจำนวน 50 คน

 

กิจกรรมติดตามผลหลังการอบรมครั้งที่ 1 (หลังอบรม 1 เดือน) 1 พ.ค. 2567 7 มิ.ย. 2567

 

ติดตามพฤติกรรม และติดตามประเมินองค์ประกอบมวลกาย

 

  1. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 70
  2. กลุ่มเป้าหมายมีค่าความดันโลหิต มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย ลดลง อย่างน้อย ร้อยละ 20
  3. กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อคลินิก wellness Center (ศูนย์สุขภาพดี) อย่างน้อย ร้อยละ 90
  4. กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามเกณฑ์ ร้อยละ 100
            ดังมีรายละเอียดสรุปผลหลังการอบรมครั้งที่ 3 (หลังอบรม 3 เดือนและสิ้นสุดโครงการ)

 

กิจกรรมติดตามผลหลังการอบรม ครั้งที่ 2 (หลังอบรม 3 เดือน) 1 มิ.ย. 2567 2 ส.ค. 2567

 

กิจกรรมติดตามผลหลังการอบรม 3 เดือน ครั้งที่ 2

 

  1. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น ดังนี้
            เมื่อติดตามผลหลังการอบรม 3 เดือน และสิ้นสุดโครงการ ในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  โดยติดตามพฤติกรรม /ประเมินผลการตรวจสุขภาพ โดยแพทย์ประจำศูนย์แพทย์ดอนยอ  พบว่า
            กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีพฤติกรรมด้านสุขภาพดีขึ้น โดยในระดับดีมาก 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 , มีพฤติกรรมด้านสุขภาพในระดับดี 31 คน คิดเป็นร้อยละ 66, มีพฤติกรรมด้านสุขภาพในระดับปานกลาง 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 34 และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 4  ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงระดับพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ                         ระดับพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนเข้าร่วมโครงการ  ดี 2 คน ร้อยละ 4  ปานกลาง 30  คน ร้อยละ  60  ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น 18  คน ร้อยละ  36                         หลังเข้าร่วมโครงการ  ดี  33คน ร้อยละ  66  ปานกลาง  17  คน ร้อยละ  34 2. กลุ่มเป้าหมายมีค่าความดันโลหิต มีค่าระดับน้ำตาล ดัชนีมวลกาย ลดลง ดังนี้
        กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิตลดลง จำนวน 5 คน จากจำนวนกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67
        กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จำนวน 15 คน จากจำนวนกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 75  ดังตารางที่ 2 3. กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามเกณฑ์ ร้อยละ 100
          กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการการวินิจฉัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33           กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ได้รับการการวินิจฉัยป่วยเบาหวาน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 25  ดังตารางที่ 2 
          ตารางที่ 2 แสดงผลประเมินผลการตรวจสุขภาพ และการติดตามยืนยันกลุ่มสงสัยป่วย
กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง 30  คน  ค่าความดันโลหิตลดลง    5 คน ร้อยละ  16.67  ได้รับการวินิจฉัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง  25 คน ร้อยละ  83.33 กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน                 20  คน  ค่าระดับน้ำตาลลดลง 15  คน ร้อยละ  75.00    ได้รับการวินิจฉัยป่วยโรคเบาหวาน 5  คน ร้อยละ  25.00