โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยเป็นป่วยความดันโลหิตสูง,เบาหวาน ในคลินิก DPAC / Wellness Center ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ ปี 2567
กิจกรรมติดตามผลหลังการอบรม 3 เดือน ครั้งที่ 2
- กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น ดังนี้
เมื่อติดตามผลหลังการอบรม 3 เดือน และสิ้นสุดโครงการ ในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยติดตามพฤติกรรม /ประเมินผลการตรวจสุขภาพ โดยแพทย์ประจำศูนย์แพทย์ดอนยอ พบว่า
กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีพฤติกรรมด้านสุขภาพดีขึ้น โดยในระดับดีมาก 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 , มีพฤติกรรมด้านสุขภาพในระดับดี 31 คน คิดเป็นร้อยละ 66, มีพฤติกรรมด้านสุขภาพในระดับปานกลาง 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 34 และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 4 ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงระดับพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
ระดับพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนเข้าร่วมโครงการ ดี 2 คน ร้อยละ 4 ปานกลาง 30 คน ร้อยละ 60 ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น 18 คน ร้อยละ 36
หลังเข้าร่วมโครงการ ดี 33คน ร้อยละ 66 ปานกลาง 17 คน ร้อยละ 34
2. กลุ่มเป้าหมายมีค่าความดันโลหิต มีค่าระดับน้ำตาล ดัชนีมวลกาย ลดลง ดังนี้
กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิตลดลง จำนวน 5 คน จากจำนวนกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67
กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จำนวน 15 คน จากจำนวนกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ดังตารางที่ 2
3. กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามเกณฑ์ ร้อยละ 100
กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการการวินิจฉัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33
กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ได้รับการการวินิจฉัยป่วยเบาหวาน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงผลประเมินผลการตรวจสุขภาพ และการติดตามยืนยันกลุ่มสงสัยป่วย
กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง 30 คน ค่าความดันโลหิตลดลง 5 คน ร้อยละ 16.67 ได้รับการวินิจฉัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 25 คน ร้อยละ 83.33
กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน 20 คน ค่าระดับน้ำตาลลดลง 15 คน ร้อยละ 75.00 ได้รับการวินิจฉัยป่วยโรคเบาหวาน 5 คน ร้อยละ 25.00
ติดตามพฤติกรรม และติดตามประเมินองค์ประกอบมวลกาย
- กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 70
- กลุ่มเป้าหมายมีค่าความดันโลหิต มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย ลดลง อย่างน้อย ร้อยละ 20
- กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อคลินิก wellness Center (ศูนย์สุขภาพดี) อย่างน้อย ร้อยละ 90
- กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามเกณฑ์ ร้อยละ 100
ดังมีรายละเอียดสรุปผลหลังการอบรมครั้งที่ 3 (หลังอบรม 3 เดือนและสิ้นสุดโครงการ)
จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก่กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน วิทยากรโดย คุณนันทิยา พานิชายุนนท์ พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ คุณนิสรัตน์ อินมณเฑียร กลุ่มงานโภชนศาสตร์ และคุณอดิศร ชุมคช กลุ่มงานสุขศึกษา รพ.พัทลุง
กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน มีความรู้และมีพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น ทุกคน คิดเป็นจำนวน 50 คน
กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจประเมินองค์ประกอบมวลกาย เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความสูง วัดรอบเอว ประเมินดัชนีมวลกาย ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และประเมินองค์ประกอบมวลกาย
กลุ่มเป้าหมายได้ทราบข้อมูลพื้นฐานของร่างกายเพื่อนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีต่อไป จำนวน 50 คน
ประชุมคณะทำงานร่วมกันออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน
อสม. แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ประจำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และได้ออกแบบกิจกรรมร่วมกัน