กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสากู้ชีพใกล้บ้านใกล้ใจ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน
รหัสโครงการ 67-L8287-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 23 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 มกราคม 2567
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2566 23 ธ.ค. 2566 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีสภาพสังคมเป็นสังคมกึ่งเมืองและชนบท มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ มีกิจวัตวัตรความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพที่เสี่ยงต่อภาวะสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วย ครอบครัวมีภาระความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นในการดูแลรักษาส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติฉุกเฉิน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงด้านอุบัติเหตุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเทพามีเส้นทางหลวงตัดสองเส้น ได้แก่ ถนนทางหลวงตัดจากหมู่ที่ 2 ตำบลเทพา ไปอำเภอหาดใหญ่ และถนนทางหลวงตัดจากหมู่ที่ 2 ตำบลเทพา ไปอำเภอสะบ้าย้อย ทำให้ปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 300 ครั้งต่อปี และเสียชีวิตจำนวน 2 รายต่อปี เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอเทพา อุบัติเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (2) ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ (3) ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการเข้าถึงความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว อุบัติเหตุที่เป็นผลมาจากปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน นับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรงที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคมในภาพรวม
    ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา จึงเห็นความสำคัญและได้นำเสนอโครงการอาสากู้ชีพใกล้บ้านใกล้ใจ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในชุมชน มีการเข้าถึงการช่วยเหลือที่รวดเร็ว และส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครภาคประชาชนตามสถานศึกษามีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน

อาสาสมัครภาคประชาชน สามารถเป็นผู้ประสานงานในการช่วยเหลือเหตุอุบัติเหตุทางถนน 1 กลุ่ม/สถานศึกษา

2 เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในชุมชน

-มีการติดตั้งป้ายจุดเสี่ยงต่างๆครอบคลุมทุกพื้นที่ -ประชาชนมีการสวมหมวกนิรภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1160 15,000.00 0 0.00
27 พ.ย. 66 อบรมอาสาสมัครตามสถานศึกษา 160 11,400.00 -
22 - 23 ธ.ค. 66 รณรงค์และประชาสัมพันธ์การขับขี่อย่างปลอดภัย และติดตั้งป้ายจุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่ตำบลเทพา เพื่อตำบลปลอดภัย 1,000 3,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครภาคประชาชนมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน
  2. ชุมชนมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2566 10:15 น.