กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 2500 วันแรกของชีวิต สู่ Smart mom & Smart kids
รหัสโครงการ 67-L8287-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 39,432.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ม.ค. 2567 31 ก.ค. 2567 39,432.00
รวมงบประมาณ 39,432.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทย มีประเด็นความท้าทายการพัฒนาในหลายมิติที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยทำงานลดลง ในขณะเดียวกันประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดทิศทาง การพัฒนาในระยะยาว ที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของโลกได้” จึงมีเป้าหมายสำคัญคือ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตเพื่อการพัฒนาในทุกมิติและทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดีคนเก่งและมีคุณภาพ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นต้นน้ำของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพิ่มการกระจายรายได้ และพัฒนาการให้บริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือเด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับพร้อมส่งต่อพลเมืองคุณภาพของชาติ” ซึ่ง “2,500 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 5 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญและคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดรวด ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยให้ต่อเนื่องจนถึงอายุ 5 ปี เพื่อให้เด็กปฐมวัยตำบลเทพามีพัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยมีชุมชนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมส่งเสริมกิจกรรมกิน กอด เล่า เล่น นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพสถานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์และคลินิกเด็กสุขภาพดี เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้งกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง โดยมาตรการต้นทางที่จะทำให้ 2,500 วันแรกของชีวิตมีคุณภาพในด้านมิติการลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ การส่งเสริมหญิงให้นมบุตรที่มีคุณภาพ และเด็กแรกเกิด - 5 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์นั้น เช่น จะต้องมีมาตรการส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน มาตรการสนับสนุนนม 90 วัน 90 กล่อง หรือไข่ 90 วัน 90 ฟอง สำหรับหญิงตั้งครรภ์ มาตรการส่งเสริมให้รานค้าจำหน่ายอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เกลือเสริมไอโอดีนและแปรงสีฟันที่ได้มาตรฐาน มาตรการส่งเสริมจัดหาพื้นที่เล่น เป็นต้น           จากสถานการณ์ในปี 2566 ตำบลเทพามีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 119 ราย มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 55 ราย (คิดเป็นร้อยละ 48.26) การมีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 8.94 เกิดการแท้งบุตร และคลอดก่อนกำหนด ได้ ในการนี้ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วง 2,500 วันแรกของชีวิต จึงจัดทำโครงการมหัศจรรย์ 2500 วันแรกของชีวิต สู่ Smart mom & Smart kids  ปี 2567 เพื่อดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด – 5 ปี ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักการดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด – 5 ปี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พื่อให้สตรีตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม คิดเป็น 95% -คลอดก่อนกำหนด คิดเป็น 95% -ไม่มีการแท้งบุตร
-ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ลดลง 10%

2 เพื่อเด็กแรกเกิด – 5 ปี มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

-เด็กแรกเกิด – 5 ปี ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 39,432.00 0 0.00
2 - 31 ม.ค. 67 ประชุมจัดทำแผนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง และเด็กแรกเกิด – 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (Care plan) และอบรมการใช้เครื่องมือติดตาม แก่ผู้ดูแล 30 5,232.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 มิ.ย. 67 ส่งเสริมการรับประทานนม ไข่ แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่ยากจน ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง จำนวน 90 วัน/ราย 30 25,650.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 มิ.ย. 67 ส่งเสริมการรับประทานไข่ แก่เด็ก 6 เดือน– 2 ปีครึ่ง ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีฐานะยากจน ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง จำนวน 90 วัน/ราย 10 8,550.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 ผู้ดูแลมีการเยี่ยมบ้านเพื่อควบคุม กำกับ ส่งเสริมการรับประทานอาหาร และยา 40 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  2. เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2566 11:17 น.