กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วัน PLUS สู่ ๒,๕๐๐ วัน เด็กไทยพัฒนาการสมวัย เก่ง ดี มีสุข ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๗
รหัสโครงการ 67-L5290-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ร่วมกันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทางยาง
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2567
งบประมาณ 37,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำภา ยังดี
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 37,000.00
รวมงบประมาณ 37,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ ๑,๐๐๐วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วัน Plus(พลัส)สู่๒,๕๐๐ วัน” ตำบลสาครได้ที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – ๕ ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐ คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ

    ทั้งนี้ในช่วง ๑,๐๐๐ วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น ๓ ช่วงที่ (๑) ๒๗๐ วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ (๒) ๑๘๐ วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี  ช่วงที่ (๓) ๕๕๐ วัน อายุ ๖ เดือน - ๒ ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด      มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ช่วงที่ (๔) ๑,๐๕๐ วัน อายุ ๒ ปี - ๕ ปี ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในที่สุด มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ ๑๔ ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐กรัม ไม่เกินร้อยละ ๗ เด็กอายุ ๐-๕ ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ ๖๖ เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ ๑๐ เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ ๕ เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ ๙ และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๕ เด็กอายุ ๓ ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข     จากการติดตามภาวะโภชนาการเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทางยาง  หญิงตั้งครรภ์รับบริการฝากครรภ์ปีงบประมา ๒๕๖๖ ทั้งหมด ๑๖ คน ในเด็ก ๐–๕ ปี ไตรมาส ๔ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖        ผลเด็กเตี้ย ๘ คนร้อยละ ๓.๗๖ ค่อนข้างผอม ๑๑ คนร้อยละ ๕.๑๖ และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน ๒ คนร้อยละ ๐.๙๔  มีพัฒนาการสมวัย ปี๒๕๖๖ จำนวน ๒๑๓ คน ร้อยละ ๘๖.๒๓ ข้อมูลจาก HDCปี ๒๕๖๖ ตำบลบ้านทางยางมีการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทย เติบโต เต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่๑. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจในช่วงอายุ ๑,๐๐๐วัน – ๒,๕๐๐วันแรกของชีวิต จำนวน ...๔๐..คน

๑.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ๒..ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัว น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๗
๓.หญิงตั้งครรภ์หลังคลอด / ทารกหลังคลอด ตามเกณฑ์ ๓ ครั้ง  ร้อยละ ๑๐๐

2 ข้อที่๒. อบรม แกนนำสุขภาพครอบครัว เพื่อทำความเข้าใจในการประชาสัมพันธ์หญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง และเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ พัฒนาการของเด็กตามขบวนการ และ การได้รับวัคซีน การได้รับยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กตั้งแต่ช่วง อายุ ๖ เดือน - ๕ ปี จำนวน ๔๐ คน

๑. แกนนำสุขภาพครอบครัวมีความรู้ และทักษะในการคัดกรองสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจาง ความรู้เรื่อการส่งเสริมพัฒนาการ ร้อยละ ๑๐๐ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนตลอดการตั้งครรภ์ ร้อยละ ๑๐๐

3 ข้อที่๓. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้ครอบครัว ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและเอาใจใส่สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด -๕ ปี

๑.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์
ร้อยละ ๑๐๐ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้ง ตามเกณฑ์ มากกว่า ร้อยละ ๙๐

4 ข้อที่๔. เพื่อบรูณาการงานและสร้างความร่วมมือจากครอบครัว ภาคีเครือข่ายและองค์กรต่างๆในการพัฒนาสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด – ๕ ปี

๑.เด็กปฐมวัยในเด็กช่วงอายุ ๖ เดือน - ๑ ปี และ เด็กก่อนประถมวัย ช่วงอายุ ๓ - ๕ ปี ได้ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดเพื่อป้องกันโรคภาวะโลหิตจางร้อยละ ๑๐๐

5 ข้อที่๕. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ภาวะโภชนาการ สุขภาวะโลหิตจาง จำนวน ๒๔๗ คน

๑.เด็กในช่วงอายุ ๖ เดือน – ๕ ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการ สุขภาวะโลหิตจาง  ร้อยละ ๑๐๐

6 ข้อที่๖. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยจำนวน ๑๐๐ คน

๑.เด็กปฐมวัยช่วงอายุ ๙,๑๘,๓๒,๔๒,๖๐ เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ  ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ในหมู่บ้านฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ มีความรู้ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ๒. หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัย และลูกเกิดรอด และได้รับติดตามเยี่ยมหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ๓. เด็กปฐมวัย ในเด็กช่วงอายุ ๖ เดือน - ๑ ปี และเด็กก่อนประถมวัย ช่วงอายุ ๓ - ๕ ปี ได้ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดเพื่อป้องกันโรคภาวะโลหิตจาง ๔. เด็กปฐมวัย ในเด็กช่วงอายุ ๙,๑๘,๓๒,๔๒,๖๐ เดือน ต้องได้รับการตรวจพัฒนาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2566 16:19 น.