กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุน กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน ประจำปี 2567
รหัสโครงการ L3342-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337,100.171place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน       เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการ พัฒนาระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา และกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประชาชนให้มากที่สุด เป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วม คิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อพิจารณากลั่นกรอง/อนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

1.แผนงานหรือโครงการ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และได้รับการอนุมัติร้อยละ 80

80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดทำรายงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

1.การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพและมีวัสดุเพียงพอต่อการดำเนินงาน  ร้อยละ 80

80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

1.หน่วยงาน/องค์กรต่างๆสามารถดำเนินงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด ร้อยละ 80

80.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

1.มีการทำรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนครบตามกำหนด

80.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ คณะทำงาน
  1. คณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการ คณะทำงาน ได้รับการอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
50.00
6 ข้อที่ 6 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน

1.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯได้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นตอนการวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดกรอบแผนงานโครงการของปิงบประมาณใหม่ 2. ชั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ จัดทำเอกสารประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนและวาระที่กำหนด 3.1 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปีสรุปผลการประชุมและมติคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน 3.2จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี   -สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา 4. อบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการคณะทำงาน 5. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน/คณะกรรมการกองทุนาเข้าร่วมประชุมงานกองทุนหลักประกันสุขภาพผลที่คาดว่าจะได้รับ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  3. มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอต่อการดำเนินงาน 4.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน/คณะกรรมการกองทุนฯได้รับความรู้จากการเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ มาพัฒนากองทุนฯตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 09:15 น.