กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองป้องกันโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 7 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 44,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัตนา ศิริสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 44,050.00
รวมงบประมาณ 44,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเป็นลำดับต้นๆ คือ ปัญหาโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) ได้ประมาณการว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 382 ล้านคนทั่วโลก และในปี 2578 จะมีผู้ที่ป่วยถึง 592 ล้านคนหรือ ใน 10 คนจะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน และในปัจจุบันพบว่าประชากรมากกว่า 316 ล้านคนมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกได้ประมาณไว้ว่าจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วโลก จาก 194 ประเทศ มีจำนวนถึง 970 ล้านคน โดย 330 ล้านคนอยู่ในประเทศพัฒนา และ 640 ล้านคนอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และในปี 2568 คาดว่าจะมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน นอกจากนี้ ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากความดันโลหิตสูง         สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น กลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติ ของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูล ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2561 พบอัตราการเสียชีวิต อย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปีพ.ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน ภาวะความดัน โลหิตสูง คิดเป็น 12.20 ต่อแสนประชากร และโรคทางเดินหายใจ อุดกั้นเรื้อรัง คิดเป็น 11.40 ต่อแสนประชากร (สำนัก โรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2560) จากสถานการณ์ และความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงก่อให้เกิด ความสูญเสียด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นวัยทำงาน และ ยังเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงพบว่า ในปีงบประมาณ 2566 คัดกรองโรคเบาหวานได้ร้อยละ 76.78 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 19.94 พบกลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 0.27 และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 79.28 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 29.29 พบกลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 12.14 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเกิดจากการรณรงค์โดยใช้กลวิธีที่หลากหลายติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มเสี่ยงที่เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่ครอบคลุม และมีความยากลำบากในการนำกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งอาจเกิดจากขาดความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักต่อความเสี่ยงที่จะกลายเป็นกลุ่มป่วยในอนาคต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในตำบลโคกม่วง ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

2 เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยงได้เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70

3 เพื่อให้การวินิจฉัยผู้ป่วยรายใหม่เป็นไปอย่างครอบคลุม และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละการตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและได้รับข้อมูลภาวะสุขภาพของตนเอง รวมทั้งข้อมูลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดรายใหม่ระยะยาวได้ รวมทั้งผู้ที่เริ่มป่วยสามารถเข้าถึงการักษาได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 10:42 น.