กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3054-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 142,393.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูไรนี มาลายา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วน    ในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังสนับสนุน  ให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่    ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง    เกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง    และการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง ดังนั้นเพื่อให้    การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและ  การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น  เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และแกนนำสุขภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และแกนนำสุขภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนและได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องการเสนอแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

2 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน ครั้งที่ 1(1 ต.ค. 2566-31 ธ.ค. 2566) 0.00                        
2 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน ครั้งที่ 2(1 ม.ค. 2567-31 มี.ค. 2567) 0.00                        
รวม 0.00
1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน ครั้งที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน ครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
  2. คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนและได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องการเสนอแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  3. สามารถสร้างประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 11:08 น.