กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5ปี
รหัสโครงการ 67-L5185-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าชิง (สถานีอนามัยป่าชิง)
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 24,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าชิง
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ป่าชิง ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 234 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน

โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย
การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าชิง ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา จากเด็กทั้งหมด 234 คน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.50 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 25 คน คิดเป็นร้อยละ 10.86ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 5 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าชิง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการและพัฒนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมอง ร่างกาย และพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไปจึงได้จัดทำโครงการ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัย 0 - 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินสุขภาพ และพัฒนาการตามวัยตามที่มีคุณภาพ ครอบคลุม และครบถ้วน

 

50.00 40.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง

 

20.00 15.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการ ส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการสำหรับเด็ก

 

25.00 20.00
4 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

25.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,125.00 0 0.00
1 - 29 ก.พ. 67 ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 0 600.00 -
1 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ 0 8,400.00 -
1 - 30 เม.ย. 67 ประเมินภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 5 ปี 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 ตรวจหาความเข้มข้นของเลือดกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0 1,050.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ 0 4,500.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานและมีภาวะโลหิตจาง 0 9,575.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานและเด็กที่มีภาวะซีด 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กแรกเกิด - 5 ปี ให้มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 60
  2. แรกเกิด - 5 ปี มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานและเด็กที่มีภาวะโลหิตจางลดลง ไม่เกินร้อยละ 5
  3. เด็ก 9 เดือน - 5 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า ได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100
  4. เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการสำหรับเด็ก ร้อยละ 80 (วัดจาก Pre Test -Post Test )
  5. ทำให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโภชนาการเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2566 10:49 น.