กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คลินิกสูงวัย (ห่างไกลโรคภัย) ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปี 2567
รหัสโครงการ L-8287-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลเทพา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 10,980.00
รวมงบประมาณ 10,980.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเริ่มมีความเสื่อมถอยของร่างกาย มีภาวะความเจ็บป่วยเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความเจ็บป่วย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่แย่ลง และอาจทำให้กลายเป็นกลุ่มคนติดบ้าน ติดเตียง หรือเกิดความพิการตามมาได้ ผู้สูงอายุ หมายความว่า บุคคลซึ่งอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายความว่า บุคคลที่ยังไม่ถูกประเมินเป็นผู้พิการ แต่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด จากภาวะสุขภาพอนามัย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหรือช่วยเหลือให้มีสมรรถภาพด้านสุขภาพ เพื่อให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลงหรือหมดไป

ผู้สูงอายุเผชิญกับโรคเรื้อรัง อาการปวดเมื่อยในผู้สูงวัยก็เช่นกันมีปัจจัยมาจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในผู้สูงวัยที่มีการเสื่อมลงของร่างกายทุกระบบ ซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายลดความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เซลล์ของร่างกายมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายเพิ่มขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและสารเคมี แม้แต่การเปลี่ยนแปลงในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก อาทิ มีการลดปริมาณของน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆ ขนาดของกล้ามเนื้อโดยรวมจะเล็กลง มีการสูญเสียแคลเซียมของกระดูก มีการยึด ติด ตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้การเคลื่อนไหวไม่มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น อาหารการกิน ที่ขาดวิตามินดีและซี ขาดแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โดยผู้สูงวัยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดเมื่อยได้ง่ายนั้นอาจมาจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น แต่ปัจจัยสำคัญอีกอย่างก็คือการใช้ร่างกายที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ ใช้น้อยเกินไป ใช้มากเกินไป และใช้ท่าทางในชีวิตประจำวันผิดวิธี     ตำบลเทพาและตำบลปากบาง(บางส่วนมีผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ที่ 1 (PCU 1) และศูนย์ที่ 2 (PCU 2) จำนวน 1,801 คน คิดเป็นร้อยละ 14.09 ของประชากรทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ต่างก็มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย
    กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้จัด โครงการคลินิกสูงวัย (ห่างไกลโรคภัย) โดยการออกหน่วยให้บริการกายภาพบำบัดและแผนแผนไทยในพื้นที่นำร่อง เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะสุขภาพแต่มีความยากลำบากในการเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อและข้อ ได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกวิธี

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อและข้อ ระดับอาการปวดลดลง2-3 ระดับ ร้อยละ 80

1.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องโรคกระดูกและข้อสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้

ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องโรคกระดูกและข้อ  ร้อยละ 90

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 95 10,980.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน โดยการตรวจร่างการทางกายภาพบำบัด และทางแพทย์แผนไทย 50 1,980.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 ให้การรักษาการทางกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทยแก่ผู้สูงอายุ 3 ครั้ง 45 9,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพด้านระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
  2. ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงและมีปัญหาระบบกล้ามเนื้อและข้อ ได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกวิธี..
  3. ผู้สูงอายุนำความรู้เรื่องกระดูกและข้อไปปฏิบัติ สามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้
  4. สามารถป้องกัน ลดภาวะแทรกซ้อนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2566 11:15 น.