กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "ลูกประคบ ลดปวดเมื่อย"
รหัสโครงการ 67-L2995-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางมะรวด
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 15,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรฮีดายะห์ เจะเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน และเกิดได้กับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดแขน หรือแม้กระทั่งปวดศีรษะ สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในชีวิตประจำวันมักมาจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักหรือต่อเนื่อง โดยขาดการผ่อนคลาย หรือยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงเครียด เช่น การทำงาน การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา ซึ่งถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของประชาชนทั่วไป โดยทั่วไป อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมักหายเองได้ใน 1-5 วัน แต่บางครั้งอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายตัวอยู่ไม่น้อย หากทิ้งไว้ก็อาจเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การดูแลตนเองในเบื้องต้นอาจช่วยบรรเทาปวดและลดความเสี่ยงของผลกระทบจากอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ เช่น เปลี่ยนอิริยาบถในการทำงาน ไม่นั่งหลังงอ ลุกยืนยืดเส้นสาย การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการประคบสมุนไพร
การประคบสมุนไพรนั้น จัดเป็นกระบวนการดูแลสุขภาพทั้งด้านการรักษา การฟื้นฟู การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพตามศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย และเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการส่งเสริมการใช้แพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการประคบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2.ร้อยละ 80 ประชาชนสามารถทำลูกประคบสมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 59 15,325.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลูกประคบสมุนไพร 59 15,325.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ประชาชนสามารถทำลูกประคบสมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2566 11:21 น.