กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัด-โรงเรียนปลอดยุงลาย รพ.สต.บ้านโคกยา
รหัสโครงการ 2567-L3310-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านโคกยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกยา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาคีเครือข่าย ชุมชน โรงเรียน วัด องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปและจากรายงานสถานการณ์การป่วยพบว่าในจังหวัดพัทลุงพบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่ม5-14ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียน และในเขตรับรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกยาจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2566-31 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยในกลุ่มวัยเรียน 5-14 ปี จำนวน 6 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด 10 คน คิดเป็นร้อยละ 60
วัดถือว่าเป็นศาสนาสถานที่สำคัญ เป็นแหล่งรวมของคนจำนวนมากที่มาร่วมทำพิธีทางศาสนาในวันสำคัญๆ ซึ่งผู้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาจากสถานที่ต่างๆ หากไม่มีการควบคุมเฝ้าระวังโรคที่ดี จะเป็นแหล่งรังโรค ที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรค และ วัดโคกพญาราม มีอาณาเขตติดต่อกับโรงเรียนบ้านควนโคกยา จึงมีความสำคัญที่จะต้องมี การเน้นให้ครูนักเรียนและพระสงฆ์ เห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้มีความรู้ และตระหนักในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้เกิดเป็นเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้น รพ.สต.บ้านโคกยา จึงได้จัดทำโครงการวัด โรงเรียน ปลอดยุงลาย โรงเรียนให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านควนโคกยา ปีงบประมาณ 2567 เพื่อการรณรงค์และการป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในวัดและโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมชุมชนโดยรอบบริเวณโรงเรียน ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม อย่างมีส่วนร่วม จึงได้มีการ จัดดำเนินการตามโครงการเพื่อเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชนอย่างเป็นระบบ ที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน สืบไป เพื่อให้ประชาชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี ภายใต้การบริหารจัดการระบบสุขภาพของภาคีเครือข่ายและคนในชุมชนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ครู นักเรียนและพระสงฆ์ มีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

๑.ร้อยละ100ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
2 2.เพื่อให้ครูนักเรียน พระสงฆ์และกรรมการวัดมีทักษะในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

๒.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์

0.00
3 3.ค่า (Container Index ,CI) ในโรงเรียนและวัด เป็น 0

3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เตรียมความพร้อมเครือข่ายและคณะทำงาน ครู พระสงฆ์และ อสม.(ครู 3 คน พระสงฆ์ 2 รูป กรรมการวัด 3 คน และ อสม.12คน) 0 2,300.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียน สู่ การเป็น อสม.น้อย ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 12,900.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 3.กิจกรรมฝึกปฏิบัติสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 3,800.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 4.กิจกรรมประเมินและสรุปผลโครงการ 0 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พระสงฆ์และคณะกรรมการวัดมีความรู้ในการเฝ้าระวัง และ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2.วัดสะอาด ปลอดยุงลาย
3.ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านควนโคกยา มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี 4.นักเรียนโรงเรียนบ้านควนโคกยามีทักษะที่ถูกต้องในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ ๕.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (Container Index ,CI) ในวัดและโรงเรียน เป็น 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2566 14:50 น.