กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L7258-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 30 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 497,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.จ.อ.หญิง คณัสนันท์ สิทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2566 15 ก.ย. 2567 497,300.00
รวมงบประมาณ 497,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรคติดต่อมีหลายชนิดที่มีสัตว์ประเภทต่าง ๆ เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงวันนำโรคบิดอหิวาตกโรค โรคระบบทางเดินอาหาร แมลงสาบนำโรคที่มีเชื้อราเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจและโรคผิวหนัง ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยาและโรคไวรัสซิกา เป็นต้น สำหรับ หนู เป็นสัตว์พาหะที่นำโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ทั้งโรคที่เกิดจากหมัด ไร พยาธิ ไวรัส แบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น สครัปไทฟัส ไข้หนูกัด ไข้รากสาดใหญ่ สำหรับโรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส เป็นอีกโรคหนึ่งที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เลปโตสไปรา(Leptospira) ซึ่งเชื้อโรคนี้จะอยู่ในไตหนูจนตลอดชีวิต และจะแพร่ออกมาทุกครั้งเวลาที่หนูฉี่ จะกระจายอยู่ตามพื้นบริเวณที่ชื้นแฉะและมีน้ำขัง เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ มีการอาศัยอยู่ของประชาชนค่อนข้างหนาแน่น ปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณของสัตว์พาหะนำโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนได้ เช่น ขยะมูลฝอยที่เกิดจากบ้านเรือน แหล่งชุมชน มีปริมาณค่อนข้างมาก การจัดสร้างอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในชุมชนที่พบว่ามีหนูค่อนข้างชุกชุม ตลาดก็เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่พบว่ามีหนู โดยเฉพาะหนูนอร์เวย์หรือ ที่เรียกว่า หนูท่อ หนูขยะ ซึ่งตลาดเป็นสถานที่ จัดจำหน่ายสินค้า ที่มีผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ผู้ซื้อ ผู้บริโภคสินค้าและบริการมากมาย จากข้อมูลของสำนักงานควบคุมโรคที่ 12 สงขลา เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ได้ดำเนินการสุ่มจับหนูภายในตลาดสด เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดกิมหยง ตลาดพลาซ่า1,2,3 และ ตลาดทัวร์รัถการ จากจำนวนตัวอย่างหนู 200 ตัว ทำการตรวจเลือด พบความชุกของโรคฉี่หนู คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งถือว่ามีอัตราเสี่ยงสูง ในการนำโรคฉี่หนูมาสู่ประชาชนที่ใช้ชีวิตประจำวันในบริเวณที่เสี่ยง ซึ่งหลังจากการสุ่มตัวอย่างดังกล่าว ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนูมาอย่างต่อเนื่อง และผลจากการเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรค จากศูนย์ระบาดวิทยาโรงพยาบาลหาดใหญ่ ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2562 - พ.ศ.2566 พบว่าปีพ.ศ.2562  มีผู้ป่วยจำนวน 6 ราย ปีพ.ศ.2563 มีผู้ป่วยจำนวน 7 ราย ปีพ.ศ.2564 มีผู้ป่วยจำนวน 8 ราย ปีพ.ศ.2565 มีผู้ป่วยจำนวน 12 ราย และปีพ.ศ.2566 (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 20 ต.ค. 66) มีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย     จากรายงานผลการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรค แม้จะพบว่ามีผู้ป่วยแต่ละปีจำนวนน้อยและไม่มีการระบาดของโรคในวงกว้าง แต่พบผู้ป่วยทุกปี รวมถึงหนูเป็นสัตว์ฟันแทะที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อชุมชนในการบริโภคสินค้าในตลาด ดังนั้น ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคสินค้าในตลาด มีความมั่นใจในความปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากหนูเป็นพาหะ เสริมสร้างภาพลักษณ์ของตลาดสดในเขตเทศบาล ซึ่งดำเนินการโดยใช้วิธีการณรงค์ให้ความรู้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นการรักษาความสะอาดแก่ชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านค้าในตลาด เพื่อลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการ รวมถึงการควบคุม ลดจำนวนหนู(Rodent reduction) ที่ต้องมีความต่อเนื่องและดำเนินการรณรงค์อย่างพร้อมเพรียง ในห้วงเวลาเดียวกัน จึงจะช่วยลดปริมาณหนูและลดการแพร่พันธุ์ของหนูลงได้     ทั้งนี้ งบประมาณในการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ในการกำจัดหนู ใช้กรณีงบประจำที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอในการดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมดำเนินงานป้องกันโรค โดยประชาชนมีส่วนร่วม
  1. ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย มีส่วนร่วมในการดำเนินงานดำเนินงานกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรค
2 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาร่วมป้องกันและกำจัดหนูที่เป็นพาหะนำโรค
  1. ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย มีความตระหนักเรื่องโรคที่มีหนูเป็นพาหะและการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค
  2. ประชาชนและผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในตลาด ให้ความร่วมมือ ในการจัดการสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม
3 เพื่อรณรงค์กำจัดหนูที่เป็นพาหะนำโรค
  1. อัตราการเกิดโรคฉี่หนูลดลงร้อยละ 20 เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมรณรงค์กำจัดหนูในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่(5 มิ.ย. 2567-12 มิ.ย. 2567) 497,300.00                    
รวม 497,300.00
1 กิจกรรมรณรงค์กำจัดหนูในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 497,300.00 2 497,300.00
3 เม.ย. 67 ค่าเหยื่อพิษกำหนู 50 496,000.00 496,000.00
14 พ.ค. 67 ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 2 ป้าย 50 1,300.00 1,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคฉี่หนูที่เกิดจากหนูเป็นพาหะนำโรคลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินโครงการ
  2. ประชาชนและผู้ประกอบการเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนความรู้และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และกำจัดสัตว์นำโรค
  3. ประชาชนไม่เดือดร้อนรำคาญจากการที่หนูที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญในครัวเรือน ร้านค้าและตลาด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2566 15:07 น.