กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสานพลังครอบครัว ลด ละ เลิกบุหรี่สู่ชุมชนน่าอยู่ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3067-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.บางเขา
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2567 - 29 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,546.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุบล วัฒนศักดิ์ภูบาล
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน
14.29
2 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
14.73
3 ปริมาณการสูบยาสูบของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเฉลี่ยต่อวัน
40.00
4 ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบของผู้สูบยาสูบเฉลี่ยต่อเดือน
3,000.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“บุหรี่” ราคาที่แสนแพง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคน ไทยเสียค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่ เฉลี่ยต่อคน วันละ 11 บาท เท่ากับว่า คนไทยเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่เป็น จำนวน 118.8 ล้านบาทต่อวัน และ 1 ปี ต้องเสียค่าบุหรี่ถึง 43,362 ล้านบาท แถมในบางรายยังต้องเสียค่า รักษาพยาบาลเฉพาะ 3 โรคหลัก (โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด และโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด) กว่า 46,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันพบว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่อายุน้อยที่สุดเพียง 13 ปี ปัจจุบันพบว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” คือช่องโหว่ของสังคมไทยที่กำลังทำร้ายเยาวชน เราจะพบคนสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น ในสัดส่วนที่อาจจะพอ ๆ กับบุหรี่ปกติ มีการนำเข้า การขาย การซื้อ การสูบบุหรี่ไฟฟ้า หมุนเวียนใกล้ชิดอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามีการใช้สารโพรพลีลีนกลีเซอรอล (Propylene Glycerol) ที่ทำให้สารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติหรือกลิ่นคล้ายน้ำหอมหรือ เครื่องสำอาง จึงดึงดูดให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ข้อมูลล่าสุดจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งสำรวจไว้เมื่อกลางปีเมษายนถึงมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าในภาพรวมของประเทศ มีเยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 9.1 ตัวเลขของเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นเกือบ 1% จากร้อยละ 8.29 เมื่อปี 2564 พฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการถูกชักชวนจากคนรอบข้าง ส่วนใหญ่ถูกเพื่อนชวน ร้อยละ 92.2 รองลงมา คือญาติ ร้อยละ 3.2 และคนในครอบครัว ร้อยละ 1.6 องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาเล็งเห็นว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักและเป็นสถาบันเริ่มต้นที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชนให้ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ และมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ตามเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากการได้รับควันบุหรี่มือ 2 และ 3 ในคนที่ไม่ได้สูบและสร้างเสริมกลไกทางสังคมดูแลให้กำลังใจให้คนสูบลดละเลิก ตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ จึงจัดทำ โครงการสานพลังครอบครัว ลด ละ เลิกบุหรี่ สู่ชุมชนน่าอยู่ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูบบุหรี่

 

90.00 70.00
2 เพื่อสร้างการรับรู้ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่และควันบุหรี่ ก่อให้เกิดการควบคุมและร่วมมือและให้กำลังใจการช่วยเลิกบุหรี่ ในชุมชน

 

60.00 80.00
3 สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ในพื้นที่ตำบลบางเขา

 

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,546.00 0 0.00
17 ม.ค. 67 - 29 มี.ค. 67 อบรมให้ความรู้ 0 14,696.00 -
17 ม.ค. 67 - 29 มี.ค. 67 รณรงค์การปลอดบุหรี่ในชุมชนสู่ชุมชนน่าอยู่ 0 2,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการลด และเลิกบุหรี่ ในบ้าน ชุมชน และกลุ่มที่มีการสูบบุหรี่เป็นประจำหรือครั้งคราว
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ ไม่เป็นผู้สูบหรี่หน้าใหม่
  3. เยาวชนและจิตอาสามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษ พิษภัย โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และกลวิธีการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองภายหลังเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 10:29 น.