กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 2567-L3311-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนวลอนงค์ สุขเกษม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาตลอด เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินในการรักษาพยาบาลตลอดจนความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่หน่วยงานได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด แต่พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก อีกทั้งยังมีโรคไข้เลือดออกอุบัติใหม่ที่มีโอกาสระบาดในประเทศ เช่น โรคไข้ไวรัสซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยมียุงลายเป็นพาหะของโรคร่วมกัน จากรายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านนาหยา ปี 2563 มีผู้ป่วยจำนวน 2 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 63.71 ต่อแสนประชากร ปี 2564 จำนวน 3 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 96.31 ต่อแสนประชากร ปี 2565 จำนวน 11 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 353.70 ต่อแสนประชากร ปี 2566 จำนวน 17 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 550.87 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 รพ.สต.บ้านนาหยา) มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้น คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกทำให้ยุงลายเพิ่มมากขึ้น จึงต้องเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้กลวิธีการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดอออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจิงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา อสม.และจิตอาสาฯได้ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการดำเนินการควบคุมโรคทันทีและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือ เมื่อเกิดการระบาดโรค จึงได้จัดโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้แก่ประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของหมู่บ้าน ค่าHI CI < 10
ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ รพ.สต. โรงเรียน ศพด. วัด มีค่า CI=0

3 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกและตระหนักถึงอันตรายของโรค ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมให้ความรู้(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย อสม.และจิตอาสาฯ(8 ธ.ค. 2566-8 ธ.ค. 2566) 0.00                        
รวม 0.00
1 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย อสม.และจิตอาสาฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ประชาชนมีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนสามารถลดความชุกลูกน้ำบุงลาย (ค่า HI CI ไม่เกินร้อยละ 10) 3.ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 13:54 น.