กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุและเด็กวัยเรียน
รหัสโครงการ 67 - L3360 - 1 -18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข เทศบาลตำบลร่มเมือง
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลร่มเมือง (นายสมบูรณ์ บุญวิสูตร นายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง)
พี่เลี้ยงโครงการ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุขเทศบาลตำบลร่มเมือง (นายชัยวัฒน์ อุสหกรรม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข)
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ โดยข้อมูลปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 12.6 ล้านคนจากจำนวนประชากรรวม 66 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 19.1 ของประชากรรวม และคาดว่า ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๘ ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ 56.1 ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ ๒๐ ซี่ และผู้สูงอายุมีฟันแท้คู่สบ ๔ คู่ ขึ้นไป ร้อยละ 40.2 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นจะมีจำนวนมากกว่าครึ่ง มีฟันถาวร 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลือนั้นยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ปัญหาที่สำคัญได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ 60-74 ปี พบร้อยละ 8.7 แต่เมื่ออายุ 80-85 ปี เพิ่มสูง ถึงร้อยละ 31.0 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก และจากกการสำรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่และบ้านลำ ในพื้นที่ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่าผู้สูงอายุมีฟันผุต้องได้รับการถอนฟันและอุดฟันจำนวน 50 คน ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ให้กลุ่มผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสมยืดอายุการใช้งาน ทางฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข เทศบาลตำบลร่มเมือง ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ ให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ซึ่งในระยะยาวจะลดการสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,700.00 2 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 การดำเนินงานตามโครงการ 0 22,700.00 0.00
2 ม.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียนโรงเรียนวัดนาโอ่ปิปฺผลิกประชาสรรค์และโรงเรียนวัดกลาง 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคและการดูแลสุขภาพช่องปาก ๒. ผู้สูงอายุมีทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างถูกต้อง
๓. ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีและแข็งแรง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 00:00 น.