กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันโรคติดต่อภัยที่เกิดในฤดูฝน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2502-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 30 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 ธันวาคม 2566 - 18 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 18 มกราคม 2567
งบประมาณ 61,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะเตาเฮบ เปาะโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีฝนตกชุกในบางพื้นที่ อากาศเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โรคที่สำคัญที่      ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูฝน เช่น โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ  โรคที่เกิดจากยุงและสัตว์ต่างๆ โรคติดเชื้อทางผิวหนัง ตลอดจนอันตรายจากการจมน้ำและไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุอาจเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็ว โรคที่อาจเกิดในฤดูฝนและวิธีป้องกันโรค ดังนี้ กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย 5 โรคได้แก่ โรคหวัดไข้หวัดใหญ่ คออักเสบหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย สามารถติดต่อ กันได้ง่ายจากการไอ จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์และอหิวาตกโรค โรคที่เกิดจากยุงและสัตว์ต่างๆเป็นพาหะ ได้แก่      โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ เจอี โรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู โรคที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด  กับผู้ป่วยได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคหรือภัยที่เกิดในภาวะน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคน้ำกัดเท้า อันตรายจากสัตว์มีพิษกัด อันตรายจากการจมน้ำได้แก่ เล่นน้ำในแม่น้ำลําคลอง ประกอบอาชีพทางน้ำ พลัดตกน้ำ อันตรายจากไฟฟ้าดูด ได้แก่ การใช้มือจับอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรงในขณะที่ร่างกายเปียกน้ำ
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซาจึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคติดต่อภัยที่เกิดในฤดูฝน ในชุมชนเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนม มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีป้องกันโรคติดต่อในช่วงฤดูฝน และรู้วิธีการดูแลรักษาตนเองในช่วงฤดูฝน

ประชาชนได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และสามมารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้

2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อ ที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี และชุมชนเกิดความเข้มแข็งและร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. ประชุมอสมและกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
  3. วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผนการดำเนินงาน
  4. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ
  5. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน
  7. ดำเนินงานตามโครงการจัดอบรมให้ความรู้ป้องกันโรคติดต่อภัยที่เกิดในฤดูฝน
  8. ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ภายในพื้นที่ตำบลกาลิซา จำนวน 45 จุด หมู่ที่ 1 จำนวน 5 จุด
    หมู่ที่ 2 จำนวน 10 จุด
    หมู่ที่ 3 จำนวน 8 จุด
        หมู่ที่ 4 จำนวน 5 จุด     หมู่ที่ 5 จำนวน 10 จุด
        หมู่ที่ 6 จำนวน 7 จุด
  9. สรุปผลตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและสามมารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
2 ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี และชุมชนเกิดความเข้มแข็งและร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
3 เป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2566 10:03 น.