โครงการ "นมแม่แน่ที่สุด"
ชื่อโครงการ | โครงการ "นมแม่แน่ที่สุด" |
รหัสโครงการ | 60-L7885-1-25 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศสม.ยะกัง 2 |
วันที่อนุมัติ | 20 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเยาวรี คอลออาแซ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลายทศวรรษที่ผ่านมามีหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มากมาย เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เพียงเป็นการให้อาหารเพื่อให้ลูกอิ่มและสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้เท่านั้น แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังเป็นการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กอย่างมีคุณภาพ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. นมแม่มีการเปลี่ยนแปลงสารอาหารตลอดเวลาตามอายุลูก
หลังคลอดระดับฮอร์โมนในแม่จะเปลี่ยนแปลงและร่างกายจะสร้างน้ำนมขึ้น นมที่สร้างช่วงแรกจะเป็นน้ำนมเหลือง (Colostrums) และจะค่อยเปลี่ยนเป็นน้ำนมขาวในที่สุด สารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในนมแม่ ได้แก่ ไขมัน (ไขมันจำเป็น เช่น ไลโนเลอิกและไลโนเลนิก) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสร้างสารไปห่อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองเด็ก ทำให้การส่งกระแสประสาทในสมองเด็กทำได้ดีและรวดเร็วขึ้น มีพัฒนาการในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบๆ ตัว อิมมูโนโกลบูลินในนมแม่จะช่วยลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ในเด็ก รวมทั้งจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและไม่สบายของเด็ก
2. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำให้เด็กมีความอ่อนโยน
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเพิ่มสัญชาตญาณความเป็นแม่ เนื่องจากขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่จะทำให้ระดับฮอร์โมน ออกซีโทซิน (Oxytocin) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยให้แม่มีจิตใจอ่อนโยน ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้ถึงความอ่อนโยน อันจะส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ดี
3. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการปูพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม ขณะที่ลูกดูดนมแม่ประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน ทั้งการมองเห็น โดยการสบตากับแม่ขณะดูดนม การรับกลิ่น เนื่องจากการอยู่ใกล้ชิดกับแม่ขณะดูดนมจะทำให้ลูกได้รับกลิ่นกายของแม่ไปด้วย และการฝึกประสาทหูเนื่องจากลูกจะได้ยินเสียงแม่ที่พูดคุยกับตนเอง
ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกอย่างก็คือลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมของแม่ด้วย อีกทั้งเป็นการช่วยเศรษฐกิจของชาติ เนื่องจากนมแม่มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กแข็งแรง ถึงแม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีประโยชน์เพียงใด แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่หลายประการ โดยเฉพาะเรื่องปริมาณและคุณภาพของน้ำนม แต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำนมแม่มีปริมาณพอเพียงกับความต้องการของลูกอยู่แล้ว คุณภาพน้ำนมแม่นั้นจะขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการของแม่ กรณีที่แม่พบว่าปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอนั้นควรจะมีการทบทวนประเด็นต่างๆ เหล่านี้ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยาหรือวิธีการอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนม ได้แก่ เทคนิคที่ดีก็คือให้ลูกดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ภาวะจิตใจของแม่ ภาวะโภชนาการของแม่ระหว่าตั้งครรภ์และให้นมลูก ระหว่างที่ตั้งครรภ์แม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเพียงพอสำหรับตนเองและเด็กในครรภ์ ตลอดจนสะสมไว้สำหรับสร้างน้ำนมหลังคลอดเพราะหลังคลอดบุตรจะได้มีน้ำนมแม่ให้ลูกดูดอย่างเพียงพอและสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก
|
||
2 | ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
|
||
3 | เพื่อใช้สำหรับสาธิตการนวดเต้านมและการบีบเก็บน้ำนม
|
||
4 | เพื่อแก้ไขหัวนมหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหา
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่หญิงตัั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดบุตร/แกนนำชุมชน/คณะอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง | 60 | 12,600.00 | ✔ | 12,600.00 | |
รวม | 60 | 12,600.00 | 1 | 12,600.00 |
- จัดประชุมชี้แจงแก่คณะอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องฯ เพื่อเตรียม ความพร้อม ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์
- ประสานแกนนำทั้ง 7 ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดบุตร / ประชาชนที่สนใจทราบถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์และความสำคัญของอาหารช่วยสร้างน้ำนมแม่
- ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประโยชน์และความสำคัญของอาหารช่วยสร้างน้ำนมแม่แก่แกนนำ / อาสาสมัครสาธารณสุข หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดบุตร
- จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์โดยตรงเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2559 10:26 น.