โครงการหนูน้อยปลอดภัย ห่างไกลอุบัติเหตุ
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยปลอดภัย ห่างไกลอุบัติเหตุ |
รหัสโครงการ | 67-L2543-3-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประดิษฐ์บุปผา(บ้านใหม่) หมู่ที่ 3 ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
วันที่อนุมัติ | 13 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 กรกฎาคม 2567 - 24 กรกฎาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 15,495.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปิยนันท์ รักชน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายยูโซ๊ฟ ดอเลาะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประดิษฐ์บุปผา (บ้านใหม่) ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | 10.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้พบว่าการเกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัย และเกิดความรุนแรงจากอุบัติเหตุบนท้องถนนกับเด็กเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดเป็นอันดับ ๑ ของโลก ซึ่ง ๘๐% ของอุบัติเหตุทางถนน เกิดจากการใช้รถจักรยานยนต์ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการปกป้องตนเองจากความเสี่ยงดังกล่าว สอดคล้องกับข้อมูลที่บอกว่า มีผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในเมืองไทย โดยเฉพาะเด็ก ใส่หมวกกันน็อกเพียงแค่ ๘% เท่านั้น ทำให้มีเด็กไทย เสียชีวิตจากการไม่ใส่หมวกกันน็อก ถึง ๕,๐๐๐ คน ต่อปี ปัจจุบันเด็กและเยาวชนจำนวนมาก มีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น ผู้ปกครองขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ไปส่ง หรือเยาวชนขับขี่ด้วยตนเอง ซึ่งล้วนแต่มีความเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนด้วยกันทั้งสิ้น และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุสูงก็คือ ขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปยังสถานศึกษา ซึ่งบางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ เช่น ขาดประสบการณ์และทักษะในการขับขี่ ประมาท ไม่เคารพกฎจราจร ขาดจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนน ไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้การเกิดอุบัติเหตุในเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในวัยกำลังเรียน มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติเหตุทางน้ำยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยเสียชีวิตมากที่สุดเช่นกัน จากสภาพปัญหาของเด็กจมน้ำตายเป็นอุบัติเหตุที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กไม่ให้ความสนใจศึกษาสาเหตุ และสร้างมาตรการป้องกัน ทั้งนี้อุบัติเหตุการจมน้ำมีในทุกกลุ่มอายุของเด็ก ตั้งแต่เด็กปฐมวัยถึงเด็กวัยรุ่น และอัตราการตายมีสถิติสูงกว่าอุบัติเหตุอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่นน้ำของเด็ก เช่น อากาศร้อน สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำธรรมชาติได้ง่าย และไม่มีผู้ดูแล อีกหนึ่งสาเหตุคือพฤติกรรมการเล่นน้ำของเด็กๆ การป้องกันตนเอง และไม่มีทักษะในการช่วยเหลือหรือเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ตกน้ำ จากการจมน้ำ ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม และรู้จักการตะโกน โยน ยื่น เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีป้องกันตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเมื่อต้องพบกับเหตุการณ์จริงจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำ จมน้ำ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงได้ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัย และการปฏิบัติให้ถูกกฎจราจรบนท้องถนน เพื่อปลูกจิตสำนึกและเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กไทยสวมหมวกกันน็อกจนเป็นนิสัย เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้นดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ ให้ความรู้ความเข้าใจ ปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยให้เหมาะสมกับวัย เพื่อเป็นการสร้าง ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต ที่จะแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างตรงจุด คือ การให้ความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิงซึ่งไม่เพียงแต่เด็กและเท่านั้นที่จะได้รับความรู้ ผู้ปกครอง และครู ก็จะได้รับความรู้พร้อมกันไปด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครู มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและอุบัติเหตุทางน้ำ ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครู มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและอุบัติเหตุทางน้ำ ร้อยละ 80 |
10.00 | 4.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครู สามารถนำความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและอุบัติเหตุทางน้ำจากการอบรมไปดูแลและปลูกฝังให้เด็กนักเรียนปฏิบัติตามได้ ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครู สามารถนำความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและอุบัติเหตุทางน้ำจากการอบรมไปดูแลและปลูกฝังให้เด็กนักเรียนปฏิบัติตามได้ ร้อยละ 80 |
10.00 | 5.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 15,495.00 | 2 | 15,495.00 | 0.00 | |
24 ก.ค. 67 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยเรื่่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการจมน้ำและการปฏิบัติให้ถูกกฎจราจรบนท้องถนน | 50 | 7,295.00 | ✔ | 7,295.00 | 0.00 | |
24 ก.ค. 67 | กิจกรรมสาธิตสวมหมวกนิรภัยปลอดภัยใส่ใจสุขภาพและะกิจกรรมสาธิตการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ | 50 | 8,200.00 | ✔ | 8,200.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 100 | 15,495.00 | 2 | 15,495.00 | 0.00 |
1.ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครู มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและอุบัติเหตุทางน้ำ 2.ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครู สามารถนำความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและอุบัติเหตุทางน้ำจากการอบรมไปดูแลและปลูกฝังให้เด็กนักเรียนปฏิบัติตามได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566 00:00 น.