โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ไข้ซิกา (ศสม.ยะกัง 2)
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ไข้ซิกา (ศสม.ยะกัง 2) |
รหัสโครงการ | 60-L7885-1-27 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศสม.ยะกัง 2 |
วันที่อนุมัติ | 20 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 62,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายตอเฮ อาลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
ชุมชนเมืองในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะกัง๒ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อประชากรหมื่นคนในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ เท่ากับ ๑๔.๗๐ และ ๕๗.๔๑ ต่อประชากรหมื่นคน ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนสำนักงานเทศบาลเมืองนราธิวาสโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้ซิกา ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กิจกรรมที่๑ 1. อบรมความรู้ฯแก่ประชาชนจิตอาสา 7 ชุมชน 2. อบรมให้ความรู้ฯ จิตอาสาจิ๋ว (นักเรียนชั้น ป.4 จำนวน 30 คน) กิจกรรมที่ 2 (เชิงรุก) ๑. ออกสุ่มสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 7 ชุมชนทั้งหมด 1,696 หลังคาเรือน ๒. ออกกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในกรณีมีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกในชุมชน ๓. ออกรณรงค์กำจัด/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน (Big Cleaning Day) ๔. จัดนิทรรศการ/ให้ความรู้ในโรงเรียน จำนวน 4 โรง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๕. ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรค 3 โรค (ไข้เลือดออก, ไข้ซิกาและโรคชิกุนคุนยา) ให้แก่ชุมชนในเขตรับผิดชอบทั้ง 7 ชุมชน ผ่านทางหอกระจายข่าว มัสยิดในชุมชนและ ศสม.) กิจกรรมที่ 3 ๑. ค่าวัสดุในการจัดนิทรรศการในโรงเรียน/ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนจำนวน 4 โรง ๒. ติดตาม ประเมินผล
1.ประชาชนจิตอาสามีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและวิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่ถูกต้องและได้ผลดี 2.นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.ชุมชนมีความตระหนักและให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2559 10:40 น.