กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกแกนนำสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
รหัสโครงการ 10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำมร จันทรมาศ
พี่เลี้ยงโครงการ นางพัชรี น้อยเต็ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
53.77
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
60.95
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุกๆปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ โดยมีวิสัยทัศน์ทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญา และจิตวิญญาณ ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ ให้คนไทยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน ตามหลัก 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และอบายมุข
ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ มีกลุ่มการออกกำลังกายรูปแบบต่าง เช่น แอโรบิค โยคะ ฟุตบอล รำไม้พลอง เป็นต้น ทำให้ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้น ชมรมคนรักสุขภาพ จึงได้ร่วมกันปรึกษาหารือออกแบบการออกกำลังกายแบบใหม่ ด้วยแอโรบิคไลน์แดนซ์ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยม สร้างสุขภาพ สร้างความสนุกสนาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากลไกแกนนำสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน และเกิดการใช้ประโยชน์ของสถานที่สาธารณะของชุมชนในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.95 62.75
2 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

53.77 56.62
3 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

80.00 84.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,700.00 0 0.00
3 เม.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน 0 1,100.00 -
22 เม.ย. 67 อบรมแกนนำการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคไลน์แดนซ์ 0 5,400.00 -
23 เม.ย. 67 - 23 ก.ค. 67 รณรงค์ออกกำลังกายด้วยแอโรบิคไลน์แดนซ์ในชุมชน 0 3,700.00 -
7 ส.ค. 67 ประชุมสรุปผลกิจกรรม คืนข้อมูลให้ชุมชน 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดแกนนำการออกกำลังกายในหมู่บ้านนำร่อง 3 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 2,3 และ 7) ที่สามารถเชิญชวนประชาชนให้มีความสนใจในการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคไลน์แดนซ์เพิ่มมากขึ้น

2.เกิดกลุ่มออกกำลังกายด้วยแอโรบิคไลน์แดนซ์และสามารถต่อยอดขยายผลไปยังชุมชนอื่นได้ รวมทั้งเกิดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการเป็นสถานที่ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2566 09:05 น.