กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคซึมเศร้า โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
รหัสโครงการ 2567-L8010-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 36,842.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพนิดา พุมมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 49 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 99 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่มีภาวะซึมเศร้า
32.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-30 กันยายน 2564 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง 28% เสี่ยงซึมเศร้า 32% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22% ข้อมูลปี 2564 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 7 คนของประชากรโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปีและจากการประเมินพบว่า เด็กอายุ 10-19 ปี กว่า 1 ใน 7 คนทั่วโลกมีความป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และวัยรุ่นเกือบ 46,000 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในวัยรุ่นในประเทศไทยและที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

จากข้อมูลงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นในที่เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย รวมถึงพยายามฆ่าตัวตายซ้ำจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าในปี 2563 จำนวน 33 รายปี 2564 จำนวน 41 รายและในปี 2565 จำนวน 72 ราย ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวที่มีภูมิลำเนาในตำบลกำแพง มีจำนวน 15, 11และ 19 รายตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงคือเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 9-20 ปีปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้ลงมือทำร้ายตนเอง ได้แก่ปัญหาเรื่องสัมพันธ์ภาพในภายในครอบครัว ปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน ได้แก่ กินยาเกินขนาด ,ใช้ของมีคม ของแข็ง ซึ่งโรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และมีกลุ่มเสี่ยงต่อการจะเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าถึงบริการมากขึ้นทุก ๆ ปี แต่เรากลับมีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการรับมือ การให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษาที่น้อยมาก

ภาวะซึมเศร้าเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่นการเปลี่ยนงานความเจ็บป่วยการหย่าร้างภาวะว่างงานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อนครอบครัวหรืออาจเกิดจากภายในผู้ป่วยเองความเจ็บป่วยภัยธรรมชาติ เช่น ผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกทั้งด้าน การค้า การลงทุน การเงิน สิ่งแวดล้อม และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน มาตรการสุขภาพอนามัย มาตรการสิ่งแวดล้อม ระเบียบทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้น ความเครียด/ภาวะซึมเศร้าเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งในสิ่งหนึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียด/ภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วแน่นท้องมือเท้าเย็นในด้านผลเสียต่อสุขภาพหากความเครียด ดังนั้น โรงเรียนบ้านตูแตหรำ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองภาวะโรคซึมเศร้า เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้า

ผู้เข้ารับการอบรม ร้อยละ 70 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้า

0.00 80.00
2 นักเรียนแกนนำและบุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดกรองโรคซึมเศร้าได้
  1. นักเรียนแกนนำบุคลากรทางการศึกษาร้อย 100 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าสามารถคัดกรองโรคซึมเศร้าได้
  2. ร้อยละ 80 สามารถส่งต่อรายชื่อผลกลุ่มเสี่ยงเข้าระบบโรงพยาบาลได้
0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,842.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 จัดตั้งคณะทำงาน กิจกรรมโครงการประจำโรงเรียน 0 500.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 สร้างแกนนำ ค้นหาโรคซึมเศร้า 0 4,625.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 คัดกรองค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยง 0 740.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 ประเมินผลและถอดบทเรียนจากกิจกรรม 0 1,040.00 -
20 พ.ค. 67 - 27 มิ.ย. 67 เสริมสร้างความรู้แก่นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ในเรื่องโรคซึมเศร้า 0 28,937.00 -
27 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 ติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยง 0 0.00 -
27 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 รายงานผลโครงการ 0 1,000.00 -
31 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 ส่งต่อรายชื่อผู้ที่เสี่ยงให้กับทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครอง มีความรู้เรื่อง เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้า
  2. บุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดกรองโรคซึมเศร้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2566 13:01 น.