กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8291-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,192.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนันทะ ทองเพ็ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด ทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่กลับพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
เทศบาลตำบลย่านตาขาว เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยจากข้อมูลงานระบาดวิทยาพบว่าในปี ๒๕๖๓ พบผู้ป่วยจำนวน ๔ ราย ปี ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕ พบผู้ป่วยปีละ ๑ ราย และปี ๒๕๖๖ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม จนถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ พบผู้ป่วยจำนวน ๑๒ ราย (ข้อมูลจากโรงพยาบาลย่านตาขาว ณ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๖) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคของจังหวัดตรัง จะเป็นแบบระบาด ๒ ปีเว้น ๑ ปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานการเฝ้าระวังและควบคุมลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ เพื่อป้องกันการเกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างต่อไป
จะเห็นได้ว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหา เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลย่านตาขาวเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนสร้างจิตสำนึกและความตระหนักเพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยกันดูแลตนเองและชุมชนได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้รับการทำลาย และน้ำขังในชุมชนได้รับการใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 100

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการป้องกันโรคและควบคุมโรค

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 80

3 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวลดลงจากปีที่ผ่านมา

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 33,192.00 0 0.00
19 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 เดินรณรงค์ให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและชิคุนกุนยาและร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ 0 26,160.00 -
19 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 อบรม ให้ความรู้ 50 7,032.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวได้
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม ในการป้องกันความควบคุมการเกิดโรคในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา
  4. ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 10:12 น.