กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ตำบลห้วยยอด
รหัสโครงการ 67-L1541-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลห้วยยอด
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 8,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปิยวิทย์ เนกขพัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.762085,99.64546place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 8,200.00
รวมงบประมาณ 8,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการทำงานภาคเกษตรกรรม มีอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกาย พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ซึ่งในพื้นที่ตำบลห้วยยอด ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น ทางศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลห้วยยอดได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบจึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอันตราย

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอันตราย

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลตรวจสุขภาพอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการเจาะเลือดซ้ำและผลเลือดอยู่ในระดับปกติ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 8,200.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 70 4,900.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี 0 3,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความรู้ มีทักษะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย 2.กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจสุขภาพอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผลเลือดอยู่ในระดับปกติได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 10:49 น.