กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน ภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2480-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดานิช ดิงปาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 67 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการที่ดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดีมีพัฒนาการที่สมวัย รวมทั้งการได้รับภูมิคุ้มกันด้านต่างๆล้วนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียน ๐-๕ ปี เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่สำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีคามสำคัญต่อการเจริญเติบโตพัฒนาขอเด็กวัยก่อนเรียน ปัญหาสุขภาพทางด้านสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ตระหนักเท่าที่ควร จากสถาณการณ์ดังกล่าว ทางรพ.สต.มะรือโบออก ได้มีการประเมินผลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๕ ปี) จากเด็กทั้งหมด ๔๘๙ คน จะพบว่าพื้นที่เขตรพ.สต.มะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ในปีที่ผ่านมา มีเด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าร้อยละ 95 เด็กได้รับการประเมินคัดกรองพัฒนาการ คิด เป็นร้อยละ ๙๕.๕๖ (เกณฑ์ได้รับ ๑๐๐ %)รวมทั้งมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ดังนั้นรพ.สต.มะรือโบออกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ปี ๒๕๖๗

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็ก ๐-๕ ปี มีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพเด็ก
  1. ร้อยละ ๘๐ ของผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปีที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพเด็กทั้ง ๔ ด้าน
80.00 80.00
2 2.เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย

2.ร้อยละ ๘๐ ของเด็ก ๐-๕ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

80.00 80.00
3 ๓.เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับวัคซีนในชุมชน

๓.เด็กที่มีอายุครบ 1 ปี  2 ปี  3 ปี และ 5 ปี  ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ  เพิ่มขึ้นจากเดิม  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

25.00 25.00
4 ๔.เพื่อให้เด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

๔.ร้อยละ ๖๐ ของเด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,570.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี 0 17,570.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ ๒ สาธิตการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ ๓ ติดตาม/เยี่ยมบ้าน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของเด็ก ๓. เด็ก ๐-๕ ปี ในเขตตำบลมะรือโบออกได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ร้อยละ ๙๐ ๔. ช่วยลดการเกิดปัญหาทางสุขภาพของชุมชนในอนาคต ๕. เด็กที่ขาดวัคซีนได้รับการเยี่ยมบ้าน/ติดตาม ๖. เด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 00:00 น.