กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ“รู้ก่อน ป้องกันได้ รักษาไว มีโอกาสหายจากมะเร็ง”
รหัสโครงการ 67-L2995-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลกเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คนต่อปี โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และสุดท้ายมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ หากกล่าวถึงโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์สตรีแล้วนั้น โรคที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกจากสถิติล่าสุดของ IARC ลงวันที่ 10 มีนาคม 2566 พบสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ไทยปีละ 9,158 ราย และอัตราการเสียชีวิต 4,750 รายต่อปี โดยมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีหลายโรคกว่าจะตรวจพบหรือรอให้มีอาการนั้นบางรายมีการกระจายโรคไปแล้วถึงจะตรวจเจอ โอกาสรักษาหายขาดจึงเป็นไปได้ยาก   นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัยกล่าวว่า สถานการณ์โรคมะเร็งของไทยจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี2565 พบว่าหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 ราย รองลงมาคือ มะเร็งปากมดลูกจำนวน 12,956 สำหรับโรคมะเร็งเต้านมส่วนมากพบในหญิงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากที่สุดจำนวน 19,776 ราย รองลงมาคือ อายุ 50-59 ปี จำนวน 12,181 ราย และอายุ 40-49 ปี จำนวน 5,177 ราย แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมพบในหญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านม ที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี หรือเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี และผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 15-49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กรมอนามัยจึงแนะนำให้หญิงไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งจะทำให้รู้ถึงสภาพที่เป็นปกติของเต้านม หากเกิดความผิดปกติของเต้านมจะสามารถพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ


  สถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง พบว่า ยังเข้าถึงการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากใดลูกและมะเร็งเต้านมค่อนข้างน้อย บางคนอาย และบางคนให้เหตุผลว่าสามีไม่อนุญาต ปัจจุบันวิธีการตรวจมีความง่ายและสะดวกขึ้น สามารถตรวจด้วยตัวเองได้ที่บ้าน ดังนั้นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ     ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง องค์การบริการส่วนจังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อป้องกันตัวเองและรักษาในระยะแรกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทุกชนิด 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและ อสม.มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง 3.เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ในระยะแรก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของการป้องกันตนเองจากการเป็นโรคมะเร็งทุกชนิด 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง 3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ต่อปี 4.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 10:53 น.