กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงชุมชนภัทรภักดี ปี ๒๕๖๑ เขตเทศบาลเมืองตากใบอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงชุมชนภัทรภักดี ปี ๒๕๖๑ เขตเทศบาลเมืองตากใบอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 61-L7487-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุและปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภค อาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการที่มีอายุมากขึ้น ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้ว จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ในปี 2560 พบว่าในเขตพื้นที่ ชุมชนภัทรภักดี ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประชากร เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 7.82 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีเพียงร้อยละ 12.86 และเป็นโรคเบาหวานจำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 3.49 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 19.62 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีแนวโน้มต่อการเพิ่มอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนด้วย เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ และการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของคน ในชุมชน ประกอบกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด และอาหารมันของคนในชุมชน เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ชาวบ้านส่วนหนึ่งประกอบอาชีพการทำประมง ชาวบ้านจะนิยมถนอมอาหารด้วยการทำปลาเค็มและการผลิตน้ำบูดูซึ่งมีรสเค็ม และการผลิตอาหารในช่วงงานเลี้ยงหรืองานเทศกาลต่างๆ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ จะประกอบอาหารประเภทแกงกะทิเป็นหลัก ซึ่งมีความมัน และการบริโภคอาหารว่าง ชาวบ้านมักจะบริโภคอาหารประเภทที่มีรสหวานกันเป็นส่วนใหญ่ และผู้ป่วยเบาหวานหลายรายที่อยู่ในภาวการณ์พึ่งพาอาศัยร่วมกับลูกหลาน ลูกหลานจะต้องประกอบอาหารให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันการประกอบอาหารต่างไม่คำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับซึ่งจะส่งผลให้เกิดพลังงานและไขมันสะสมในร่างกาย ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคของคนในชุมชน ดังนั้น กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ โรงพยาบาลตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงชุมชนสามัคคี เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและชุมชนมีส่วนร่วม ในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ ตลอดจนเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ตามหลัก 3อ2ส.

 

0.00
3 3.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและตระหนักในการดูแลสุขภาพของชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๒. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายทราบรายละเอียดกิจกรรม 3. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนโดยใช้เครื่องมือปิงปองจราจรชีวิต 7 สี จำนวน 3 ครั้ง - ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3อ2ส - สาธิตการประกอบอาหารเมนูสุขภาพ - ส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการใช้ผ้าขนหนู อื่นๆ โดยวิทยากรในท้องถิ่น - มอบรางวัลแด่บุคคลตัวอย่างที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคได้
4. ติดตามเยี่ยมบ้านรายที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ 5. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน 3.ประชากรกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ๔. อสม. มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2560 14:42 น.