กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ใส่ใจข้อเข่าเสื่อม ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L7932-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจงดี รองปาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.127,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อที่พบว่าเป็นปัญหาสุขภาพมากที่สุดคือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนัก ของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึงภาวะที่ข้อเข่าเกิดความผิดปกติเนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอยซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่มากขึ้น และเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุด 1 ใน 10 ของโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ อีกทั้งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อเข่า โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่ามากขึ้น ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด หรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและ มีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไป นานขึ้นหรือข้อที่เสื่อมอักเสบถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้เป็นมากขึ้นได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีอาการอักเสบ ติดเชื้อหรือเป็นโรคไขข้อบางชนิด ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมรวมถึงป้องกันภาวะทุพพลภาพที่อาจจะเกิดตามมาได้ในผู้สูงอายุ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลท่าข้าม จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ใส่ใจข้อเข่าเสื่อม” ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การดูแลตนเอง รวมถึงท่าบริหารต่างๆ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อ การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพรและวิธีการใช้ ซึ่งการพอกเข่าด้วยสมุนไพรเป็นการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีสรรพคุณเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการบวม มาพอกบริเวณเข่า ซึ่งเมื่อทำควบคู่กับการบริหารข้อเข่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก็จะสามารถชะลอความเสื่อมของข้อเข่าและป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ รวมถึงท่าบริหารต่างๆ ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ รวมถึงท่าบริหารต่างๆ ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

100.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพร รวมถึงวิธีการใช้ยาพอกเข่า

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพร รวมถึงวิธีการใช้ยาพอกเข่า

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 16,350.00                  
รวม 16,350.00
1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 16,350.00 0 0.00
21 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม,อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพร,พอกเข่าด้วยยาสมุนไพร 50 16,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การดูแลตนเอง รวมถึงทำท่าบริหารต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้
  2. ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 11:43 น.