กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3320-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (นางสาวจีรันดา เสนพริก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,565.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า
0.80
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า
14.09
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า
15.90
4 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฆ่าตัวตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมโรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย จากการประมาณการขององค์การอนามัยโลกพบว่า ใน 1 ปี จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน และติด 10 อันดับแรกของสาเหตุการตายของประชากรโลกสำหรับประเทศไทยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็นจำนวนคน 4,000 คน/ปีส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 2 คน คิดเป็น 82.56 ต่อแสนประชากร พบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าบางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือโดยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัดขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำซึ่่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า "การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง" เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย จึงจัดทำโครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตรพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567 ให้ประชาชนในพื้นที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตรวมถึงกลไกการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้แก่การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนภัยการฆ่าตัวตาย 10 ประการการคัดกรองซึมเศร้าแนวทางการดูแลส่งต่อการสร้างวัคซีนใจ รวมทั้งการให้คำปรึกษาอย่างง่ายเพื่อช่วยยับยั้งความคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

82.56

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

0.80 0.50
2 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

14.09 10.00
3 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

15.90 10.00
4 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร

อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร

82.56 8.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,565.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 67 อบรมสร้างความรอบรู้แก่"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต” 0 3,475.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต 0 0.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 0 340.00 -
1 - 31 ส.ค. 67 เยี่ยมบ้านผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 0 4,750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำด้านสุขภาพจิตมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย 2.มีรูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย 3.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบคัดกรอง 2Q Plus 4.อัตราการฆ่าตัวตายไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 11:49 น.