กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ มัสยิดสร้างสุข ใส่ใจสุขภาพ ในเทศบาลเมืองตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี2561
รหัสโครงการ 61-L7487-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานจิตเวชและสุขภาพจิตโรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤศจิกายน 2560 - 30 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานจิตเวชและสุขภาพจิตโรงพยาบาลตากใบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ม.ค. 2562 40,600.00
รวมงบประมาณ 40,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มัสยิดเป็นศาสนสถานที่สำคัญยิ่งในอิสลาม เป็นสถานที่ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์และพัฒนามุสลิมให้เป็นผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์ มัสยิดตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นศาสนสถานที่โดดเด่น ของชุมชนมุสลิม และเป็นสถานที่ที่สามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อมถอยของชุมชนนั้นๆได้อย่างดี การให้ความสำคัญกับมัสยิดในฐานะองค์กรพัฒนาชุมชน นับเป็นประเด็นร่วมสมัย และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ชุมชนมุสลิมในปัจจุบันจะได้หันมาให้ความสำคัญกับองค์กรมัสยิดไม่ใช่ในฐานะแค่เพียงเป็นสถานที่ละหมาดเท่านั้น แต่ในฐานะขององค์กรที่จะต้องมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ตามศาสนบัญญัติอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการดูแลสุขภาพด้านการเรียนรู้หรือแม้กระทั่งด้านสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ล้วนสะท้อนออกมาจากศาสนสถานที่อยู่ในพื้นที่นั้นทั้งสิ้น ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า“ ผู้ใดตื่นเช้าขึ้นมามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตทีสงบร่มเย็น ไม่มีความวิตกทุกข์ร้อนมีอาหารสำหรับบริโภคในวันนั้น ก็ประหนึ่งว่าเขาผู้นั้นได้ครองโลกไว้ทั้งโลก”(ติรมีซีย์ อิบนิมายะฮ์ บุคอรี)สุภาษิตของชาวอาหรับโบราณกล่าวไว้ว่า “คนที่มีสุขภาพดีคือคนที่มีความหวัง และคนที่มีความหวังคือคนที่มี ทุกสิ่งทุกอย่าง สุขภาพ (ในทัศนะของอิสลาม) หมายถึง (ภาวะที่คุณรู้สึกว่าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข) เป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย(Physical) จิตใจ(Psycho) สังคม(Social) และจิตวิญญาณ(Spiritual) เพราะมุสลิมต้องดำเนินชีวิตตามวิถีทางของศาสนาตลอดเวลา และมีความสัมพันธ์และศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮฺ จากคำนิยามข้างต้น จะเห็นว่า ศาสนา มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้น ในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาเข้าด้วยกัน ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากร ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดถึงความได้เปรียบทางประชากรในการพัฒนาประเทศการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นส่งที่ดีและทุกคนควรกระทำ หากทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์ จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วยการส่งเสริมสุขภาพโดยให้มัสยิดได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เนื่องจาก ในพื้นที่เทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ และมีมัสยิดทั้งหมด จำนวน 14แห่งซึ่งการส่งเสริมสุขภาพโดยมัสยิดจะช่วยให้แกนนำและชุมชนมีความเข้มแข็ง บุคคลมีบทบาทสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของคนในชุมชนและความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดระบบการทำงานที่สร้างเครือข่ายกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของชุมชน โรงพยาบาลตากใบร่วมด้วยเทศบาลเมืองตากใบ เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพโดยมัสยิด จึงได้ร่วมจัดโครงการขึ้น ภายใต้ชื่อ มัสยิดสร้างสุข ใส่ใจสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุขในชุมชนผ่านมัสยิด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
31 ม.ค. 62 จัดเวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่ตั้งของมัสยิด 0 0.00 -
31 ม.ค. 62 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ผู้นำศาสนาคณะกรรมการประจำมัสยิด ผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และตัวแทนภาคประชาชน และจัดเวทีคืนข้อมูลสภาพปัญหาที่ พบของแต่ละมัสยิด 0 0.00 -
31 ม.ค. 62 จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพแก่ผู้นำศาสนา คณะกรรมการประจำมัสยิด 0 0.00 -
31 ม.ค. 62 ส่งเสริมศักยภาพผู้นำศาสนา คณะกรรมการประจำมัสยิด ในการดูแลสุขภาพประชาชน - ให้ความรู้เรื่องโรคทางกาย /โรคความผิดปกติทางจิต/การส่งเสริมสุขภาพจิต - การคัดกรองโรคเรื้อรัง (ความดัน/เบาหวาน) เบื้องต้น - การให้คำแนะนำและส่งต่อ 0 0.00 -

๑. จัดเวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่ตั้งของมัสยิด
๒. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ผู้นำศาสนาคณะกรรมการประจำมัสยิด ผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และตัวแทนภาคประชาชน และจัดเวทีคืนข้อมูลสภาพปัญหาที่ พบของแต่ละมัสยิด
3. จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพแก่ผู้นำศาสนา คณะกรรมการประจำมัสยิด
4. ส่งเสริมศักยภาพผู้นำศาสนา คณะกรรมการประจำมัสยิด ในการดูแลสุขภาพประชาชน
- ให้ความรู้เรื่องโรคทางกาย /โรคความผิดปกติทางจิต/การส่งเสริมสุขภาพจิต
- การคัดกรองโรคเรื้อรัง (ความดัน/เบาหวาน) เบื้องต้น
- การให้คำแนะนำและส่งต่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มัสยิดสามารถจัดการดูแลปัญหาด้านสุขภาพเบื้องต้นที่เกิดขึ้นได้
  2. คณะกรรมการมัสยิดและประชาชนได้พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ
  3. มัสยิดเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2560 14:49 น.