กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข่าดี ก้าวไปด้วยกัน (ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย)
รหัสโครงการ 67-L8291-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2566 - 30 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญบุญญา พานิช ตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการ (ด้านเวชกรรม)รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชากรผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 10.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.45 ของประชากรทั้งประเทศ วัยสูงอายุเป็นวัยแห่งความเสื่อมของร่างกาย จากการศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาปวดข้อเข่าถึงร้อยละ 43.9 อาการปวดเข่ามาจากโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า รองมาจากโรคความดัน โลหิตสูง โรคเบาหวาน ฟันใช้งานน้อยกว่า 20 ซี่ และภาวะซึมเศร้าดังนั้นจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สูงอายุโรค ข้อเข่าเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และกำลังเป็นปัญหาด้าน สุขภาพในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมทำได้ยากเนื่องจากผู้สูงอายุมีอาการเจ็บปวด จึงไม่ขยับข้อ ไม่ออกกำลังกาย อีกทั้งผู้สูงอายุมีการเผาผลาญพลังงานอาหารต่ำ จึงเป็นข้อจำกัดทางร่างกายตามมา คือ น้ำหนักเกินหรืออ้วนยิ่งทำให้เพิ่มแรงกดต่อข้อเข่ามากขึ้น (สุวรรณี สร้อยสงค์และคณะ 2562)     โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) เป็นโรคที่พบมากที่สุดเมื่อเทียบกับโรคข้อเสื่อมอื่น ๆ ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ ปวดข้อ ข้อฝืด มีปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทำงานของข้อเสียไป การเคลื่อนไหวของข้อลดลง หากกระบวนการดำเนินต่อไปจะมีผลทำให้เกิดข้อผิดรูปได้ ปัญหาที่สำคัญที่สุดในโรคข้อเข่าเสื่อมคืออาการปวด และความสามารถในการใช้ข้อทำงานได้ลดลง ดังนั้นการรักษาจึงมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการปวด ส่งเสริมให้ข้อสามารถทำงานได้ รวมทั้งป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมอาจเริ่มต้นจากการรักษาโดยไม่ใช้ยา (non - pharmacological therapy) ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตัวเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรครวมทั้งการทำกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู การรักษาโดยการใช้ยา (pharmacological therapy) แบ่งได้เป็นกลุ่มยาลดอาการปวด ลดอาการอักเสบของข้อและยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เพื่อรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะยาวและอาจช่วยชะลอความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมได้หากการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด (นายพิพัฒน์ เพิ่มพูล 2560)     การลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีทั้งแผนปัจจุบัน แผนไทยและแผนทางเลือก ซึ่งในแผนปัจจุบันจะรักษาโดยวิธีการรับประทานยาลดปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด แพทย์แผนทางเลือกส่วนมากจะใช้วิธีฝังเข็ม
ซึ่งสามารถลดปวดได้เช่นกัน และแพทย์แผนไทยจะใช้วิธีการประคบและพอกเข่าเพื่อลดอาการปวด ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทำได้ จากการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับเปลี่ยน ผสมสมุนไพรให้เป็นตำรับยาพอกเข่า (กรุณา เจริญนวรัตน์. 2564)     ในปี 2565 จังหวัดตรังมีประชากรทั้งหมด 639,788 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 158,271 คน คิดเป็นร้อยละ 24.73 ของประชากรทั้งหมด และในอำเภอย่านตาขาวมีประชากรทั้งหมด 64,373 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 14,069 คน คิดเป็นร้อยละ 21.85 (HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง) อำเภอย่านตาขาว มีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีภาวะของข้อเสื่อมเพิ่มมากขึ้น โดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุในอำเภอย่านตาขาว งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลย่านตาขาว เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เนื่องจากพบอุบัติการณ์ของโรคกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพ มีผลกระทบสูงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจและประเมินอาการข้อเข่าเสื่อมได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึ่งพอใจ

2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาสมุนไพรพอกเข่าและสามารถผลิตยาสมุนไพรพอกเข่าบรรเทาอาการปวดเข่าได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาสมุนไพรพอกเข่าและสามารถผลิตยาสมุนไพรพอกเข่าบรรเทาอาการปวดเข่าได้

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประยุกต์ความรู้ไปดูแลด้านสุขภาพของตนเองและถ่ายทอดให้คนรอบข้างได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจและประเมินอาการข้อเข่าเสื่อมได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาสมุนไพรพอกเข่าและสามารถผลิตยาสมุนไพรพอกเข่าบรรเทาอาการปวดเข่าได้
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประยุกต์ความรู้ไปดูแลด้านสุขภาพของตนเองและถ่ายทอดให้คนรอบข้างได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 15:18 น.